พืชมีพิษ !! (1)

 
      
                       1.คริสต์มาส

ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia pulcherrima Willd.ex Klotzsch.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Poinsettia, Pointed Leaf, Lobster Plant, Chrismas Star
ชื่ออื่น : บานใบ (ภาคเหนือ) โพผัน สองระดู (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบ เดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลม ขอบใบหยัก 2-3 หยัก ทุกส่วนมียางสีขาวเหมือนน้ำนม ดอก ช่อ ออกปลายกิ่ง ในหนึ่งช่อดอกมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ร่วมกัน มีใบประดับสีแดงรูปหอกขนาดใหญ่อยู่รอบๆ ช่อดอกเป็นจำนวนมาก
ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาวจากใบ ต้น
สารพิษ : resin สารออกฤทธิ์เป็นกลุ่ม diterpene ester
การเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคืองมาก ผิวหนังเป็นปื้นแดง ต่อมาจะบวมพองเป็นตุ่มน้ำ ภายใน 2- 8 ชั่วโมง ถ้ารับประทานจะทำให้กระเพาะอักเสบ
การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ

       
                        2.หมามุ่ย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mucuna pruriens (L.) DC.
ชื่อพ้อง M. prurita Hook.f.
วงศ์ : Leguminosae - Papilionaceae
ชื่อสามัญ : Cowitch , Cowhage
ชื่ออื่น : บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กลออื้อแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย ใบ ประกอบ คล้ายใบถั่วฝักยาว คือมี 3 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม มีขนทั่วไป ดอก ช่อ ดอกย่อย แบบดอกถั่ว สีม่วงแก่ ออกตามง่ามใบแถวปลายยอด ฝักแก่จัดสีเหลืองทองถึงเหลืองแก่ มีขนค่อนข้างยาว ถ้าสัมผัสจะคัน ฝักแก่จัดขนจะร่วงปลิวไป หมามุ่ยมีหลายชนิด
ชนิดที่ 1 ฝักจะไม่ยาวมาก ประมาณ 5-7 เซนติเมตร ฝักตรง
ชนิดที่ 2 ฝักจะยาวกว่าชนิดแรกเล็กน้อย แต่ปลายฝักจะงอนออก ยาว 5-8 เซนติเมตร
ชนิดที่ 3 เป็นหมามุ่ยใหญ่ (หมามุ่ยช้าง, สะบ้าลิง) ฝักรูปทรงกระบอกค่อนข้างแบน ผิวผลย่นๆ เป็นสันและยาวกว่า 2 ชนิดแรก ยาว 10-12 เซนติเมตร ขนสีน้ำตาลแดง
ส่วนที่เป็นพิษ : ขนจากฝัก
สารพิษและสารเคมี : ขนมี mucunain enzyme สามารถย่อยโปรตีนได้ ในขนมี serotonin เป็นสารกระตุ้น ให้ร่างกายคนหลั่ง histamine ก่อให้เกิดการแพ้ผื่นคัน บวมแดง
อาการเกิดพิษ : ผิวหนังเมื่อถูกขนหมามุ่ย จะคัน ระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน บวมแดง
การรักษา : ให้พยายามเอาขนออกให้หมด โดยใช้เทียนไขลนไฟ ให้นุ่ม หรือข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว คลึงจนกระทั่งขนหลุดหมด แต่ถ้าไม่มีของพวกนี้ อาจใช้ถูไปมาบนผม ถ้าเป็นผมสั้นๆ จะได้ผลดี เมื่อคลึงเอาขนหลุดหมดแล้ว ถ้ายังคันให้ทายาคาลาไมน์หรือครีมที่มีสเตียรอยด์ เช่น ครีมพวกเพนนิโซโลน และรับประทานยาแก้แพ้ทุก 6 ชั่วโมง

      
                        3.ตำแย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Laportea interrupta (L.) Chew
วงศ์ : Urticaceae
ชื่อสามัญ : -
ชื่ออื่น : กะลังตังไก่ (ภาคใต้) ตำแยตัวเมีย (ภาคกลาง) ว่านช้างร้อง (เชียงใหม่) หานไก่ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 เซนติเมตร ทุกส่วนมีขน ใบ เดี่ยว รูปหัวใจปลายแหลม ขอบใบหยัก ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ ไม่มีกลีบดอก
ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วนที่มีขน
สารพิษ : สาร histamine, acetylcholine, formic acid, 5-hydroxy tryptamine, acetic acid ฯลฯ
อาการเกิดพิษ : ขนเมื่อถูกผิวหนังจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ระคายเคือง บวมแดง ถ้าเป็นบริเวณผิวหนังอ่อนนุ่มจะมีอาการรุนแรงยิ่งขึ้น
การรักษา : เอาขนที่ติดอยู่ออกก่อน โดยใช้วิธีเดียวกับเอาขนหมามุ่ยออก ถ้ายังมีอาการคันให้ทายาคาลาไมน์ หรือครีมที่เข้าสเตียรอยด์ เช่น เพนนิโซโลน ถ้ายังมีอาการปวดอยู่ ให้รับประทานยา chorpheniramine 4 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง

      
                     4.ตำแยช้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocnide stimulans (L.f.) Chew
วงศ์ : Urticaceae
ชื่ออื่น : สามแก้ว (ภาคใต้) หานเดื่อ หานสา (ภาคเหนือ) เอ่โก่เปอ ไอ้ขุนา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทา และมีประช่องระบายอากาศทั่วไป ใบเดี่ยวเรียงสลับหรือเวียนกัน ทรงใบรูปหอกกลับ โคนใบสอบ ปลายสุดของใบเรียวแหลม ผิวใบด้านล่างเป็นคราบขาว ดอกเล็กสีขาวปนเหลือง หรือสีม่วงอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อยาวๆ ห้อยตามง่ามใบ ผลเล็ดกลมสีเขียว
ส่วนที่เป็นพิษ : ขนหรือเกล็ดตามส่วนต่างๆ เช่น ใบ ช่อดอก จะทำให้เกิดอาการคัน ผิวหนังไหม้เกรียม หรือแดง เป็นผื่นและปวดมาก

          
                   5.หญ้าคา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Imperata cylindrica (L.) P.Beauv.
วงศ์ : Poaceae (Gramineae)
ชื่อสามัญ : Thatch Grass , Wolly Grass, Lalang, Alang-alang
ชื่ออื่น : ลาลาง ลาแล (มลายู-ยะลา)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสีเหลืองอ่อน ยาวและแข็ง ลำต้นเทียมบนดินสูงได้ 0.3-0.8 เมตร ใบ เดี่ยว แทงออกจากเหง้า ใบเล็กยาว ขอบใบคม ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า ดอกย่อย ขนาดเล็ก รวมกันอยู่ช่อแน่น สีเงินอมเทาอ่อนๆ ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่เป็นพิษ : ขอบใบคม อาจบาดทำให้เป็นแผล สัมผัสผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน

       
              6.พญาไร้ใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia tirucalli L.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Pencil Plant, Milk Bush
ชื่ออื่น : เคียะจีน พญาร้อยใบ (เชียงใหม่) เคียะเทียน (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 1-3 เมตร ลำต้นสีเขียว กลมขนาดเล็ก อวบน้ำ มียางสีขาวทุกส่วน ส่วนบนจะแตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นต่อกันเป็นข้อๆ ใบ เดี่ยว ขนาดเล็กมาก ร่วงง่าย ดอก เป็นกระจุกตามข้อหรือปลายกิ่ง สีขาวอมเหลือง ส่วนใหญ่เป็นเพศเมีย ดอกสมบูรณ์เพศมีเล็กน้อย ผล ไม่ค่อยติด รูปร่างผลยาว มี 3 พู ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลเข้ม
ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม
สารพิษ : ยางมีสาร 4-deoxyphorbol และอนุพันธ์เป็นสารร่วมก่อมะเร็ง euphorbon, euphorone, resin, taraxasterol, tirucallol
อาการเกิดพิษ : ถ้าถูกผิวหนัง ทำให้เป็นผื่น อักเสบ บวมแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบแดง ถ้ารักษาไม่ถูกหรือทิ้งไว้ตาอาจบอดได้
ถ้ารับประทานเข้าไปมาก ช่องปากจะบวม คลื่นไส้ อาเจียน กระเพาะปัสสาวะและลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง อาจอุจจาระเป็นเลือด
การรักษา : ถ้าเข้าตาหรือถูกผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง มียาสเตียรอยด์ให้ทาที่ผิวหนัง ถ้ามียาหยอดตาที่เข้าสเตียรอยด์ให้ยอดตา
ถ้ารับประทาน 1. ให้ใช้ activated charcoal รับประทานเพื่อดูดเอาส่วนที่ยังไม่ดูดซึมออก 2. ล้างท้องหรือทำให้อาเจียน 3. ให้ดื่มนมหรือไข่ขาว เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ 4. ส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น

        
                        7.ชวนชม

ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenium obesum (Forsk.) Roem.&Schult.
วงศ์ : Apocynaceae
ชื่อสามัญ : Mock Azalea, Desert Rose, Impala Lily, Pink Bigmonia, Salsi Star
ชื่ออื่น : ลั่นทมแดง ลั่นทมยะวา (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นอวบน้ำมียางขาวทุกส่วน ใบ เดี่ยว รูปช้อน เรียงแบบเวียน ดอก เดี่ยวหรือช่อสั้นๆ กลีบดอกสีแดง โคนกลีบดอกเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก ผล เป็นฝักคู่รูปยาวรี แก่แตกได้ (ปัจจุบันมีต้นที่มีดอกสีขาวและสีชมพู)
ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาว ถูกผิวหนังอักเสบ ถ้ากินมีพิษต่อหัวใจ
สารพิษ : เป็นสารกลัยโคไซด์ เช่น abobioside, echubioside ฯลฯ การเกิดพิษ : ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไปจะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้
การรักษา : ทำให้อาเจียนโดยใช้ยาพวก ipecac แล้วรับประทาน activated charcoal (ถ่าน) ส่งโรงพยาบาล ด่วน ถ้ายางถูกผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ถ้าเข้าตาก็ล้างให้สะอาดเช่นกัน มียาที่เข้าสเตียรอยด์ให้ใส่หรือทา

           
                         8.บอน

ชื่อไทย :บอน
ชื่อสามัญ :Elephant ear
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Colocasia esculenta (L.) Schott var. aquafiilis Hassk.
ชื่อวงศ์ :ARACEAE
ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชล้มลุกหลายฤดู ชอบขึ้นตามชายน้ำหรือที่ลุ่มมีน้ำขัง ลำต้นเป็นหัวเล็ก ๆ อยู่ในดิน ชูก้านใบโผล่ขึ้นมา มีไหลเลื้อยไปเกิดเป็นต้นใหม่ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ใบเป็นใบเดี่ยว มีก้านอวบน้ำใหญ่ยาว ใบมีรูปร่างหลายแบบคล้ายหัวลูกศร ก้านใบติดกับแผ่นใบทางด้านล่าง โคนก้านใบแผ่กว้างหุ้มประกบกัน ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกสั้นกว่าก้านใบ มีก้าบหุ้มดอกยาวรี โคนป่องมีช่องเปิดเห็นช่อดอกตรงกลาง ส่วนบนของช่อดอกเป็นดอกตัวผู้ ส่วนล่างเป็นดอกตัวเมีย ต้นบอนจะมีน้ำยางเหนียวสีขุ่น ๆ ถ้าถูกจะคัน
ประโยชน์ :ก้านใบใช้ประกอบอาหารประเภทต้มแกง แต่ต้องทำให้สุกจึงจะไม่คัน

       
                  9.โหรา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalomena aromatica
วงศ์ : Araceae
ชื่อสามัญ : โหรา
ชื่ออื่น : คูน กระดาดขาว กระดาดดำ ออดิบ
ลักษณะ: ไม้ล้มลุก ต้นแตกกอเป็นพุ่มกว้าง สูงกว่า 1 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ก้านใบสีดำเป็นมัน
ส่วนที่เป็นพิษ: น้ำยางจากทุกส่วนของต้นและเมล็ด
สารพิษ: Calcium Oxalate ลักษณะผลึกเป็นรูปเข็ม ไม่ละลายน้ำ (bundle of the needle like crystals ; raphides) ส่วนที่มีผลึกมาก คือ น้ำยางใสจากทุกส่วนของต้น โดยเฉพาะลำต้น และใบ
อาการพิษ :หลังจากรับประทานแล้ว จะมีอาการระคายเคืองในลำคอ ปากและลิ้น ทำให้ลิ้นแข็ง ไม่สามารถพูดได้

       
                      10.พลูแฉก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Monstera deliciosa Liebm.
วงศ์ : Araceae
ชื่อสามัญ : Mexican breadfruit, Swiss cheese plant
ชื่ออื่น : พลูฉีก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เลื้อยที่มีรากตามข้อ มีรากออกตามข้อของลำต้น ช่วยในการเกาะยึด ก้านใบยาว ใบคล้ายรูปหัวใจ แผ่นใบอาจเว้าลึกหลายแห่ง หรือไม่เว้าเลยก็มี ใบมีสีเขียวเป็นมัน ดอกสีขาวออกเป็นช่อเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ยอด ส่วนที่เป็นพิษ ยางจากต้น และสารจากต้น
สารพิษ : สารในต้น สารพิษและสารเคมีอื่นๆ calcium oxalate, lycorine alkaloids
การเกิดพิษ : ถ้าเคี้ยวเข้าไปจะทำไห้ปาก ลิ้น เพดาน แสบและร้อนแดง เกิดอาการอาเจียน ท้องเสียเล็กน้อย เนื่องจากสารพิษไประคายเคือง mucosa และไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมการอาเจียน
การรักษา : เมื่อได้รับสารพิษจากต้นให้ยาระงับปวดจำพวก meperidine(Demerol) บ้วนปากและกลั้วคอ รับประทาน aluminum magnesium hydroxide งดอาหารจำพวกไขมัน ให้อาหารอ่อนๆ

      
                   11.โป๊ยเซียน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia milii Des Moul.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Crown of Thorns, Corona de Sespina
ชื่ออื่น : ระวิงระไว พระเจ้ารอบโลก ว่านเข็มพญาอินทร์ (เชียงใหม่) ไม้รับแขก (ภาคกลาง) ว่านมุงเมือง(แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยมมนสีน้ำตาล มีหนามแหลม ออกเป็นกระจุก ใบ เดี่ยว ออกบริเวณส่วนปลายลำต้น ไม่มีก้านใบ ใบอวบน้ำ รูปไข่กลับ ปลายใบมน ใบออกสลับ ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุกใกล้ส่วนยอด มีชนิดต้นดอกสีแดง สีนวล สีเหลือง ฯลฯ ขนาดของดอกย่อยแตกต่างกัน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยาง
สารพิษ : resin, diterpene ester
การเกิดพิษ : ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังหรือเข้าตา ทำให้เกิดระคายเคือง แสบ บวม แดง ถ้ารับประทานจะทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ

      
                  12.โพทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์: Thespesia populnea L. Soland.ex Corr.
วงศ์ : Malvaceae
ชื่อสามัญ : Cork tree, Portia tree, Rosewood of Seychelles, Tulip tree
ชื่ออื่น : บากู (มลายู-นราธิวาส) ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี) ปอมัดไซ (เพชรบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กสูง ๘ – ๑๒ เมตร ลำต้นโค้ง แตกกิ่งในระดับต่ำเรือนยอดแผ่กว้าง ค่อนข้างหนาทึบ เปลือกเรียบสีเทาอ่อน หรือขรุขระมีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก ใบ เดี่ยวเรียงสลับ รูปคล้ายหัวใจ
ประโยชน์ : เนื้อไม้ สีน้ำตาลอมแดงคล้ำ มีริ้ว สีอ่อนและแก่กว่าสีพื้นสลับ เสี้ยนเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เนื้อละเอียดพอประมาณ เหนียวมาก แข็ง ทนทาน เลื่อยไสกบตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน กระดานพื้น เครื่องกลึง ด้ามเครื่องมือ เครื่องดนตรี พานท้ายปืน รางปืน ทำแจว พาย กรรเชียง ทำไม้คิวแทงบิลเลียด เปลือก ใช้ตอกหมันเรือ ทำเชือก สายเบ็ด เปลือกและเนื้อไม้มีสารที่เรียกว่าน้ำฝาด นอกจากนี้ยังใช้เป็นสมุนไพร ผล และใบ ใช้ตำพอกแก้หิด น้ำต้มจากเปลือกใช้ชะแผลเรื้อรัง ราก ใช้กินเป็นยาบำรุง
ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากต้น เปลือก
การเกิดพิษ : ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ เปลือกมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน

      
              13.มะม่วงหิมพานต์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Anacardium occidentale L.
วงศ์ : Anacardiaceae
ชื่อสามัญ : Cashew Nut Tree
ชื่ออื่น : กะแตแก (มลายู-นราธิวาส) กายี ตำหยาว ท้ายล่อ ส้มม่วงชูหน่วย (ภาคใต้) นายอ (มลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์) มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา มะม่วงสิงหน มะม่วงหยอด (ภาคเหนือ) มะม่วงทูนหน่วย ส้มทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี) มะม่วงยางหุย มะม่วงเม็ดล่อ (ระนอง) มะม่วงไม่รู้หาว มะม่วงหิมพานต์ (ภาคกลาง) ยาร่วง (ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 6-10 เมตร ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ ขนาดกว้าง 7.5-10 เซนติเมตร โคนใบแหลม ปลายใบมน ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร โดยแตกออกจากซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเริ่มแรกจะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีการพัฒนาฐานรองดอกให้ขึ้น มีลักษณะคล้ายผลชมพู่ สีเหลืองแกมชมพู แล้วค่อยเปลี่ยนกลายเป็นสีแดง เนื้อในนิ่ม ที่ปลายจะมีผลติดอยู่เป็นรูปไต ลักษณะเปลือกแข็ง สีน้ำตาลแกมเทา ยาว 2.5-3 เซนติเมตร ความแตกต่างของฐานรองดอก หรือขั้วผล ทำให้แบ่งมะม่วงหิมพานต์ออกเป็น 3 varieties คือ Americanum ซึ่งลักษณะก้านชูอับเรณูยาว ไม่มีอับเรณู ขั้วผลโตกว่าผลจริง 10 เท่า และ Indicum ซึ่งก้านชูอับเรณูยาวเช่นกัน แต่มีอับเรณูหนา และขั้วผลโตกว่าผลจริงประมาณ 3 เท่า ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากผล
สารพิษ : resin, diterpene ester
การเกิดพิษ : ถ้าถูกยางจากผลทำให้เกิดบาดแผลพุพองต่อผิวหนัง ถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองรุนแรงต่อปาก ลิ้น คอ และหลอดลมอักเสบ
การรักษา :ถ้าน้ำยางถูกภายนอก ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วล้างเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ช่วยให้น้ำยางออกมมากยิ่งขึ้น ถ้ามียาที่เข้าสเตียรอยด์ใช้ทา ถ้ารับประทานเข้าไป ให้ใช้ activated charcoal (ถ่าน) รับประทาน ล้างท้องหรือทำให้อาเจียน ถ้าอาการหนักให้ส่งโรงพยาบาล

      
                   14.ตาตุ่มทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์: Excoecaria agallocha L.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Blind Your Eyes
ชื่ออื่น : ตาตุ่ม ตาตุ่มทะเล (กลาง) บูตอ (มลายู-ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น ใบใหญ่หนาทึบ รูปร่างขอบขนาน ปลายแหลมมน ใบติดกับกิ่งแบบเวียน มีผิวมัน ดอกออกเป็นช่อเรียวยาว ตามโคนและก้านใบ ลำต้นและส่วนต่างๆ มียางขาว ขึ้นตามชายน้ำ ป่าชายเลน
ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากต้น และสารจากต้น
สารพิษ : oxocarol, agalocol, isoagalocol ellagic acid, gallicacid
การเกิดพิษ : ยาง หรือควันไฟจากการเผาไหม้ตาตุ่มทะเลเข้าตา จะทำให้ตาเจ็บ ถ้ามากอาจทำให้ตาบอดได้ถ้าหอยปูไปเกาะไม้ตาตุ่ม เมื่อนำมารับประทานจะทำให้เกิดอาการพิษ ท้องเสียอย่างรุนแรง อาเจียน
การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ

      
             15.สลัดไดป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphobia antiquorum L.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Triangular Spurge, Malayan Spurge Tree
ชื่ออื่น : สลัดไดป่า (ภาคกลาง) เคียะผา (ภาคเหนือ) กะลำพัก (นครราชสีมา) เคียะเลี่ยม หงอนงู (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูงประมาณ 8 เมตร ลำต้นกิ่งอวบน้ำมี 3-6 เหลี่ยมตามแนวสัน ที่สันมีหนาม ผิวสีเขียว ถ้าแก่จัดมีสีน้ำตาล ทุกส่วนมียางสีขาวขุ่น ใบ เดี่ยว มีจำนวนน้อย ออกตามแนวสัน รูปไข่กลับ ปลายใบกลม ดอก เป็นช่อสั้นๆ มีใบประดับออกเป็นคู่ตรงข้าม และมีใบประดับย่อยขนาดเล็กๆ รูปครึ่งวงกลมติดอยู่รอบดอก ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกเพศผู้หลายๆ ดอก และมีดอกเพศเมียดอกเดียว ผล เป็นผลสด
ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาว
สารพิษ: เป็นสารพวก deoxyphorbol เช่น euphorbin มี tetracyclic diterpene เป็นต้น
การเกิดพิษ: น้ำยางถ้าถูกผิวหนังจะคันแดงแสบ ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ ถ้ารับประทานยางเป็นยาถ่ายอย่างแรง

       
                      16.เผือก

ชื่อสามัญ : Taro
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Colocasia esculenta (L.) Schott.
ชื่อวงศ์ : ARACEAE :
แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ : เขตร้อนของเอเชียตะวันออก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว [แบบเผือก] รูปลูกข่างกลม สีน้ำตาล มีขนาดใหญ่ ถ้ามีหัวย่อยขนาดใหญ่จะมีจำนวนน้อย ถ้าหัวย่อยมีขนาดเล็กจะมีจำนวนมาก ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปลูกศรแกมรูปหัวใจ โคนใบแต่ละด้านกลมหรือเป็นเหลี่ยม ปลายใบแหลม เส้นใบเด่นชัด ก้านใบยาวได้ถึง 1 เมตร ช่อดอกเป็นช่อเชิงลดมีกาบ ออกเดี่ยวๆ หรือหลายช่อ ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร สั้นกว่าก้านใบ กาบหุ้มช่อดอกยาว 15-35 เซนติเมตร ตั้งตรง สีเขียว ปลายกาบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง สีเหลืองอ่อน ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ผลสีเขียว
เผือก (Colocasia esculenta) นิยมใช้หัวเป็นอาหาร แต่ต้องต้มให้สุกเสียก่อน เพื่อที่จะได้ไม่คัน เพราะในเผือกมียาง เช่นเดียวกับบอน แต่ปริมาณน้อยกว่า

      
                       17.กลอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioscorea hispida Dennst.
ชื่อพ้อง D. hirsuta Blume
วงศ์ Dioscoreaceae
ชื่อท้องถิ่น กลอยข้าวเหนียว กลอยนก กลอยหัวเหนียว กอย คลี้ มันกลอย Intoxicating yam, Nami, Wild yam
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถา ลำต้นกลม มีหนาม หัวใต้ดิน ส่วนมากกลม เปลือกสีเทาหรือสีฟาง เนื้อขาว หรือเหลืองอ่อน อมเขียว เป็นพิษ ปริมาณสารพิษจะแตกต่างกันไป ในช่วงฤดูฝน (เดือนสิงหาคม) จะมีพิษมากที่สุด และในฤดูร้อน (เดือนเมษายน) จะมีพิษน้อยที่สุด กลอยทอดเหลืองกรอบ ส่งกลิ่นหอม น่าอร่อย นับว่าเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนชอบ รับประทาน และคิดว่าหลายๆท่านก็ชอบรับประทานเช่นเดียวกัน แต่ในความกรอบอร่อยนี้ น้อยคนนักที่จะรู้ว่ากลอยนั้นถ้าผ่านกระบวนการทำไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดพิษต่อผู้ที่รับประทาน
สารพิษ พืชในสกุล Dioscorea จะมีสารพิษ คือ dioscorine ในปริมาณที่แตกต่างกันแล้วแต่ species ในหัวกลอยจะมี dioscorine ในปริมาณมาก หัวกลอยแห้งและลอกเปลือกออก
อาการพิษ : หากรับประทานหัวกลอยมาก จะกดระบบทางเดินหายใจ และทำให้ตายได้ จากรายงานการวิจัยของ วรา จันทร์ศิริศรี และคณะ ฉีดน้ำสกัดกลอยเข้าทางเส้นเลือดดำของหนูถีบจักร พบว่ากลอยจะไปกระตุ้นในระยะแรก ตามมาด้วยการกดระบบประสาทส่วนกลาง การเคลื่อนไหว (motor activity) ลดลงภายหลังฉีดน้ำสกัดกลอยในขนาดที่เริ่มทำให้เกิดพิษ (กดระบบประสาทส่วนกลางเพียงอย่างเดียว) แต่ถ้าฉีดในขนาดสูงมากจนสัตว์ทดลองตาย หนูถีบจักรจะชักในระยะแรก แล้วในที่สุดจะตายเนื่องจากระบบการหายใจถูกกด

      
                 18.มะกล่ำตาหนู

ชื่อวิทยาศาสตร์: Abrus precatorius L.
วงศ์ : Papilionaceae
ชื่อสามัญ : Jequirity bean, rosary bean, Buddhist rosary bean , Indian bead, Seminole bead, prayer bead, crab 's eye, weather plant, lucky bean
ชื่ออื่น : กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำแดง มะแด๊ก มะขามไฟ ตาดำตาแดง ไม้ไฟ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชตระกูลถั่ว มีใบออกเป็นคู่รูปขนนก มีใบย่อย 8- 15 คู่ ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ กลีบดอกมีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู หรือขาว ผลเป็นฝักคล้ายถั่วลันเตา ภายในฝักจะมี 3-5 เมล็ด เมล็ดกลมรียาวขนาด 6-8 มิลลิเมตร เมล็ดมีเปลือกแข็ง สีแดงสดเป็นมัน มีสีดำตรงขั้วประมาณ 1 ใน 3 ของเมล็ด มะกล่ำตาหนู เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปบริเวณประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตร ได้แก่ ทางตอนใต้ของจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ตอนใต้ของอาฟริกา และประเทศไทย เป็นต้น
ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด
สารพิษ : เมล็ดมะกล่ำตาหนู ภายในเมล็ดมีส่วนประกอบของ N-methyltryptophan, abric acid, glycyrrhizin, lipolytic enzyme และ abrin ซึ่งสูตรโครงสร้างของ abrin คล้าย ricin เป็นส่วนที่มีพิษสูงมาก หากเคี้ยว หรือกินเข้าไป เนื่องจากสารพิษจะไปทำลายเม็ดเลือดแดง ระบบทางเดินอาหาร และไต อย่างไรก็ดีสาร abrin นี้เมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวง่าย แต่คงทนอยู่ในทางเดินอาหาร ขนาดเพียง 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือกินเพียง 1 เมล็ด ก็ทำให้เสียชีวิตได้ หากสารพิษถูกผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นคัน หากถูกตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาจถึงกับตาบอดได้

      
                    19.เทียนหยด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Duranta repens L.
วงศ์ : Verbenaceae
ชื่อสามัญ : Duranta, Sky Flower, Pigeon Berry, Golden Dewdrop
ชื่ออื่น : พวงม่วง ฟองสมุทร (กรุงเทพฯ) เครือออน (แพร่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม แตกกิ่งก้าน กิ่งลู่ลง ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปไข่กลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบ ขอบใบจัก ดอก ช่อ มี 3 ชนิด คือดอกสีขาว สีม่วงอ่อน และสีม่วงแก่ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล ออกเป็น ช่อ ห้อยลง รูปกลมสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง
ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ ผล
สารพิษ : ใบ ผล มีสาร saponin และผลมีสาร narcotine alkaloids
การเกิดพิษ : รับประทานผลอาจตายได้ จะทำให้อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีไข้ ตาพร่า กระหายน้ำมาก ถ้าได้รับพิษมาก เม็ดเลือดแดงแตกได้ พืชนี้เป็นพิษต่อสัตว์เลือดเย็นด้วย
การรักษา :   • ส่งโรงพยาบาล   • ให้กินนม หรือไข่ขาว เกลือบกระเพาะ เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ   • ล้างท้อง   • ถ้าเสียน้ำมาก ต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด

       
                 20.หนุมานนั่งแท่น

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha podagrica Hook.f.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Gout Plant, Guatemala Rhubarb, Fiddle-leaved Jatropha
ชื่ออื่น : ว่านเลือด (ภาคกลาง) หัวละมานนั่งแท่น (ประจวบคีรีขันธ์) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม ลำต้นขยายใหญ่มากมีน้ำยางใส ใบ เดี่ยว ก้านใบยาว แผ่นใบเว้าลึก จะออกที่ปลายลำต้นแบบวนสลับ ดอก ช่อ ก้านดอกยาวมาก ก้านดอกย่อยและดอกย่อยสีแดงส้ม ออกเป็นช่อเหมือนซี่ร่ม ผล กลมยาว เป็นพูตามแนวยาว ผลแตกได้
ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด ยาง
สารพิษ : สารพิษมีฤทธิ์คล้าย toxalbumin,curcin พิษจาก resin alkaloid glycoside
การเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนังเกิดอาการแพ้ บวมแดงแสบร้อน เมล็ดถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กล้มเนื้อชัดกกระตุก หายใจเร็ว การเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันต่ำ พิษคล้ายละหุ่ง เมล็ดมีรสอร่อยแต่รับประทานเพียง 3 เมล็ด ก็เกิดอันตรายได้
การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ
 
 
ขอบคุณ  :  https://sites.google.com
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์