อาชีพวัยรุ่น 7 อาชีพในอาเซียน มาแรงส์
มาแล้ว! เตรียมรับมือก้าวให้ทัน?ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community) ตั้งแต่ บรูไนดารุสซาลาม, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม และพม่า teen.mthai.com ขออัพเดต อาชีพวัยรุ่น 7 อาชีพในอาเซียน?7 วิชาชีพน่าสนใจ ที่สามารถเลือกทำงานได้ในทุกประเทศของอาเซียน ได้สบายๆ?สามารถเลือกไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างอิสระ โดยเบื้องต้นได้กำหนดครอบคลุมถึง 7 อาชีพหลัก 1. อาชีพวิศวกร ( Engineering Services ) วิศวกร คือ ผู้นำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับปัญหาต่างๆในลักษณะการคิดค้นการออกแบบการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่มีอยู่ เพื่อส่ง เสริมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ การทำงานในวิชาชีพวิศวกรรมแยกได้ดังนี้
2. อาชีพพยาบาล ( Nursing Services ) พยาบาลคือ ผู้รักษา ดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพยาบาล เป็นผู้ช่วยแพทย์ โดยการสังเกต และบันทึกความเปลี่ยนแปลงในคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการของคนไข้ตามลักษณะโรคที่เป็นทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของคนไข้ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใดๆ ที่อาจเกิด จากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้ มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้ และประชาชนทั่วไปให้รู้จักการดูแลและส่งเสริมสุขภาพวางแผน มอบหมาย สั่งการ ดูแล และประเมินผลงานของผู้ช่วยพยาบาล และผู้ทำหน้าที่ประสานงาน ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ และอนามัยแขนงอื่นๆ ในการบริการคนไข้ แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพ สถาปนิกนี้ จะทำหน้าที่ออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้าง และควบคุมการก่อสร้างร่วมกับวิศวกร คำนวณวัสดุ เวลา และราคาของค่าแบบก่อสร้างและการก่อสร้างที่เหมาะสมให้คำแนะนำในเรื่องวัสดุก่อสร้างที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ว่าจ้างและเป็นไปตามกฎข้อบังคับของท้องถิ่น และแบบลักษณะทางสถาปัตยกรรม แนวทางในการประกอบอาชีพ สถาปนิกจะเป็นผู้ออกแบบต้องทำงานตามขั้นตอนและกำหนดเวลาชิ้นผลงานต่างๆ ร่วมกับวิศวกรก่อสร้างและนักเขียนแบบ โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
เงินเดือน สถาปนิกที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สถาปนิกที่ทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือน ขั้นต้นอยู่ระหว่าง 15,000 -20,000 บาท ขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ในการฝึกงานขณะที่กำลังศึกษาอยู่ ได้รับสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ และสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ 4. อาชีพการสำรวจ ( Surveying Qualifications ) ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ ผู้ควบคุมและทำการสำรวจพื้นดินและท้องน้ำ เพื่องานทำแผนที่หรือแผนภูมิงานก่อสร้าง งานเหมืองแร่ หรือเพื่องานอื่นๆ โดยการกำหนดสถานที่ตั้ง และวาดภาพแสดงลักษณะภูมิประเทศรวมถึงการสำรวจบริเวณพื้นดินและท้องน้ำ การสำรวจบริเวณทะเล และเหมืองแร่ และการสำรวจประเภทอื่นๆ เป็นผู้ช่วยนักสำรวจเกี่ยวกับการใช้ และดูแลรักษาเครื่องมือต่างๆ ในขณะปฏิบัติงาน ช่วยแปลข้อมูลที่ได้จากงานสนาม และทำงานอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน แนวทางในการประกอบอาชีพ
ราชการ เอกชน ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 4,700 4,500-5,500 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 5,740 5,500-6,500 สำหรับงานเอกชนนั้น อัตราเงินเดือนขึ้นอยู่กับความสามารถ ความชำนาญงาน และวุฒิการศึกษาของแต่ละบุคคล นอกเหนือจากเงินเดือน และค่าจ้างประจำแล้ว อาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่นในรูปของสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร โบนัส บำเหน็จ บำนาญ ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด หรือต้องทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้งานติดตั้งหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้ทันการใช้งาน 5. อาชีพพนักงานบัญชี ( Accountancy Services ) ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้ ได้แก่ ผู้ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบการธุรกิจ สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี
6. อาชีพทันตแพทย์ ( Dental Practitioners )
อัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนแตกต่างกันไปตามความรู้ และความชำนาญ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ไม่มีประสบการณ์จะมีรายได้โดยประมาณ?ราชการ เงินเดือน 6,360 เอกชน เงินเดือน 12,000 – 15,000 ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด อาจจะต้องมี การจัดเวรอยู่ประจำโรงพยาบาล นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้ว ผู้ทำงานกับภาครัฐจะได้รับ สวัสดิการตามระเบียบของทางราชการ ส่วนผู้ที่ทำงานในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์อย่างอื่นมากกว่าภาคราชการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือ สวัสดิการในรูปต่างๆ เงินประกันสังคม เงินโบนัส เป็นต้น สำหรับผู้ที่สำเร็จทันตแพทย์ที่มีเงินทุนสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวด้วยการเปิดคลีนิครักษาฟัน มีรายได้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และความอุตสาหะ 7. อาชีพแพทย์ ( Medical Practitioners ) ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล โดยตรวจคนไข้ในที่อยู่ในความรับผิดชอบทุกวันและต้องตรวจคนไข้นอกที่เข้ามารับการรักษา ผู้ที่เป็นแพทย์อาจถูกเรียกตัวได้ทุกเวลาเพื่อทำการรักษาคนไข้ให้ทันท่วงที ผู้ที่เป็นแพทย์ต้องพร้อมเสมอที่จะสละเวลาเพื่อรักษาคนไข้ ในสถานที่ทำงานจะต้องพบเห็น คนเจ็บ คนป่วยและคนตาย แพทย์จึงต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง เพราะหากมีจิตใจที่อ่อนไหวต่อสิ่งที่ได้พบเห็นจะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานได้ แนวทางในการประกอบอาชีพ
ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ราชการ 8,190 9,500 – 10,500 15,000 – 16,000 รัฐวิสาหกิจ 9,040 15,000 – 12,000 23,000 – 24,500 เอกชน 10,600 21,000 – 22,000 28,000 – 30,000 ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจต้องมาทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด อาจจะต้องมีการจัดเวรอยู่ประจำโรงพยาบาล นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์สามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยรายได้ที่ได้รับขึ้นอยู่กับความสามารถ และความอุตสาหะ แม้จะเป็นโอกาสทองของคนไทยในสายวิชาชีพดังกล่าว แต่ ก็มีจุดที่ต้องระวังคือการที่คนจากประเทศอื่นจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังมองหาอาชีพหลัก ซึ่งมีหนทางเปิดกว้างในอนาคต ขอบคุณ : teen.mthai.com |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น