พืชมีพิษ !! (2)


 
       
                   21.ว่านหางจระเข้

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aloe vera L. Burm. f.
วงศ์ : Asphodelaceae (Liliaceae)
ชื่อสามัญ : Aloe, Star Cactus
ชื่ออื่น : ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ) หางตะเข้ (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร มีข้อและปล้องสั้นๆ ใบเดี่ยว อวบน้ำมาก สีเขียว ภายในใบมีน้ำยางสีเหลือง ถัดไปเป็นวุ้นใส ดอก ช่อ ก้านช่อดอกยาวมาก ออกจากลางต้น ดอกย่อยเป็นหลอดสีส้มห้อยลง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
ส่วนที่เป็นพิษ : ยางสีเหลืองจากใบ
การเกิดพิษ : ยางสีเหลืองจากใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน

        
                 22.ว่านแสงอาทิตย์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Haemanthus multiflorus (Tratt.) Martyn
วงศ์ : Amaryllidaceae
ชื่อสามัญ : Blood Lily
ชื่ออื่น : ว่านตะกร้อ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ล้มลุกใบอวบน้ำ มีลำตัวเป็นหัวลักษณะคล้ายหอมหัวใหญ่ เจริญอยู่ใต้ดิน กลุ่มใบที่เกิดจากหัวชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบรูปหอกสีเขียวเข้มยาวประมาณ 8 นิ้ว เมื่อออกดอกจะชู้ก้านดอกเป็นลำตรงสีเขียวอ่อน จากกลางต้นสูงมาพ้นใบ ดอกออกติดกันแน่นเป็นทรงกลม สวยงามสะดุดตามาก ดอกของแสงอาทิตย์ช่อหนึ่ง ๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว และจะบานติดต้นอยู่ประมาณ 7-10 วันจึงจะโรย
ส่วนที่เป็นพิษ : หัวและใบ
การเกิดพิษ : หัวและใบทำให้ท้องเดิน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

       
                     23.ว่านสี่ทิศ 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hippeastrum johnsonii Bury
วงศ์ : Amaryllidaceae
ชื่อสามัญ : Star Lily
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพรรณไม้ดอกอายุสั้น พุ่มสูง 35 - 60 เซนติเมตรที่มีลักษณะมีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน และส่วนที่โผล่ขึ้นมานั้นจะเป็นส่วนก้านใบและตัวใบเท่านั้น ซึ่งหัวนี้ลักษณะจะคล้ายๆกับหอมหัวใหญ่ สำหรับ ใบที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปหอกเรียวยาว และมีสีเขียวสดเป็นมัน ใบหนา ขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 - 30เซนติเมตร หรือาจจะมากกว่านั้นก็ได้ ดอกออกปลายก้าน ออกเป็นช่อ 4 - 8 ดอก หันไปทั้งสี่ทิศ ดอกรูปถ้วย ขนาดดอก 8 - 15 เซนติเมตร มี 6 กลีบ มี สีขาาว สีชมพู สีแดง และบาางชนิด มีแถบสีต่างๆพาดกลีบ ดอกแรกที่จะบานจะรอจนดอกที่ 4 บานจึงจะเหี่ยว ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม - เดือนมิถุนายน หัว รูปกลม หัวโตเต็มที่พร้อมให้ดอกมีขนาด 4 เชนติเมตร ส่วนหัวลูกขนาดเล็ก แยกหัวนำมาปลูกเลี้ยง ใบให้หัวโตเต็มที่ แล้วจะออกดอกต่อไป
ส่วนที่เป็นพิษ : หัวและใบ
การเกิดพิษ : ทำให้อาเจียนและท้องเดินได้

       
                           24.รัก 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Calotropis gigantea L. Dryandr ex W.T.Aiton
วงศ์ : Asclepiadaceae
ชื่อสามัญ : Milk Weed , Crown Flower, Giant lndian Milk
ชื่ออื่น : ดอกรัก รักดอก รักร้อยมาลัย (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูง 1.5-3 ม. ทุกส่วนมีน้ำยาง ขาวเหมือนน้ำนม ตามกิ่งมีขน ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรี แกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนเว้า กว้าง 6-8 ซม. ยาว 10-14 ซม เนื้อใบหนาใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น ดอก สีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเทาเงิน หรือสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน เมื่อเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. มีรยางค์เป็นสันคล้ายมงกุฎ 5 เส้น เกสรตัวผู้ 5 อัน ผล เป็นฝักคู่ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดแบนสีน้ำตาล จำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง
ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากส่วนต่างๆ มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจรุนแรงผิดปกติ
การเกิดพิษ : ยางจากส่วนต่างๆ มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจรุนแรงผิดปกติ

       
                  25.แพงพวยฝรั่ง 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Catharanthus roseus L.
วงศ์ : Apocynaceae
ชื่อสามัญ : Madagascar Periwinkle, West Indian Periwinkle
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงได้ถึง 80 ซม. ลำต้นและกิ่งก้าน มีขนละเอียดปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงกันข้าม ก้านใบยาว 2-8 มม. ใบเกลี้ยง รูปไข่ถึงไข่กลับ ยาว 1.5-6 ซม. กว้าง 0.6-2.6 ซม. ปลายใบมนหรือกลม มีติ่งที่ปลายใบ โคนใบกลม หรือรูปลิ่ม มีเส้นใบแขนงจำนวน 7-10 คู่ เป็นสันนูนชัดเจน มีขนปกคลุม ดอกเป็นดอกช่อ จำนวน 1-2 ดอก ออกที่ปลายกิ่ง มีขนปกคลุม กลีบเลี้ยงจำนวน 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคนกลีบ ส่วนปลายแยกเป็นแฉกปลายแหลมขนาดเล็ก 5 แฉก ขนาดยาว 1.5-5 มม. กว้าง 0.5-0.7 มม. มีขนปกคลุม กลีบดอกมีสีขาว, ชมพู-ม่วง, ชมพู หรือชมพูขาว รูปหลอดยาว ปากเปิด ยาว 2.3-2.9 ซม. ผิวนอกมีขนสั้นปกคลุม กลีบดอกส่วนปากเปิด แยกเป็น 5 กลีบ รูปไข่กลับ ขนาดยาว 1.3-2 ซม. เกสรเพศผู้ตั้งอยู่ที่กลีบดอกส่วนปลายหลอด ก้านชูอับเรณูยาว 0.4 มม. รังไข่รูปไข่ ยาว 1.9-3 มม. มีขนปกคลุมก้านชูเกสรเพศเมียและเกสรเพศเมีย รวมกันยาว 1.9-2.1 ซม. ผลเป็นชนิดผลคู่ แห้งแล้วแตกแนวเดียวตามยาว ปลายแหลม มีขนบางปกคลุม ยาว 1.5-2.5 ซม. กว้าง 1.5-3 มม. มีเมล็ดหลายเมล็ดภายใน
ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วนของต้น (โดยเฉพาะใบ) พบ alkaloids มากกว่า 80 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ Ibogaine-like alkaloids, Vinblastine, Vincristine, Vinrosidine, Lenrosine, Lenrosivine, Rovidine, Carosine, Perivine, Perividine, Vindolinine และ Pericalline
การเกิดพิษ : ใบทำให้ท้องเดินและมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ และอาจหมดสติได้

        
                26.พลับพลึงตีนเป็ด 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hymenocallis littoralis Salisb.
วงศ์ : Amaryllidaceae
ชื่อสามัญ : Spider Lily
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้น มีหัวอยู่ใต้ดินลำต้นกลมสูงประมาณ 30 ซม. ใบ รูปแถบแคบเรียวแหลม ออกตรงข้ามกันสองข้าง ขอบใบเรียบ อวบน้ำ ดอก เป็นช่อกระจุกโปร่งมี 8 - 10 ดอก แต่ละดอกมีระยางค์ที่เกิดจาก ก้านเกสรเพศผู้ ที่เชื่อมติดกันเป็นวงคล้ายถ้วย บานตอนกลางคืน - เช้า มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผล ผลสดสีเขียว รูปร่างค่อนข้างกลม แก่จะเป็นสีน้ำตาล เมล็ด รูปร่างกลม ๆ เล็ก แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล
ส่วนที่เป็นพิษ : หัว ใบ และราก
การเกิดพิษ : รับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน ท้องเดิน

       
                       27.ฝิ่นต้น 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha multifida L.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Coral Bush , Coral Plant, Physic Nut
ชื่ออื่น : มะหุ่งแดง (ภาคเหนือ) มะละกอฝรั่ง (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-5 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาวเหลือง ใบ เดี่ยวขนาดใหญ่ ขอบใบเว้าลึกเป็นแฉกๆ แบบนิ้วมือ 9-10 แฉก แต่ละแฉกแบ่งเป็นหยักปลายแหลมเรียว ก้านใบยาว โคนก้านใบมีหูใบเป็นเส้นๆ หลายเส้น ใบออกแบบสลับ ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีแดง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ผล รูปร่างค่อนข้างกลมมี 3 พู แต่ละพูมี 1 เมล็ด ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยาง ใบ ต้น เมล็ด
สารพิษ : น้ำยางมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการอักเสบระคายเคือง เมล็ดมีสาร curcin, jatrophin ซึ่งเป็นสารพิษพวก toxalbumin
การเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้กระเพาะอักเสบ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจมีอาการชา แขนขาอาจเป็นอัมพาต ได้ถึง 24 ชั่วโมง และจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 7 วัน การหายใจเต้นเร็ว ความดันต่ำ ถ้ารับประทาน 3 เมล็ด อาจตายได้
การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ

       

                     28.ผกากรอง 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lantana camara L.
วงศ์ : Verbenaceae
ชื่อสามัญ : Cloth of Gold, Hedge Flower, Orange Sedge
ชื่ออื่น : ก้ามกุ้ง เบญจมาศป่า (ภาคกลาง) ขะจาย ตาปู มะจาย (แม่ฮ่องสอน) ขี้กา คำขี้ไก่ (เชียงใหม่) ดอกไม้จีน (ตราด) ยี่สุ่น (ตรัง) สามสิบ (จันทบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูงได้ถึง 40-90 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีขนทุกส่วน ยกเว้นกลีบดอกและผล ใบ เดี่ยว แผ่นใบสากมีขน ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอก ช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กมาก มีหลายสี เช่น สีขาว ชมพู เหลือง ม่งและแดง ผล ขนาดเล็ก กลม สีเขียว สุกสีดำ
ส่วนที่เป็นพิษ : ผลแก่แต่ยังไม่สุก และใบ
สารพิษ : ในใบพบสาร triterpenes ชื่อ lantadene A และ B, lantadene A มีพิษมากกว่า lantadene B และสารขม corchorin
การเกิดพิษ : สาร lantadene A และ B เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง แต่ไม่เป็นพิษต่อตับ แต่อนุพันธ์ของมันเป็นพิษต่อตับ ในเมล็ดมีสาร glycosides corchoroside A และB จะกระตุ้นหัวใจ ส่วนสารขม corchorin กินมากทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ม่านตาขยาย ชีพจรผิดปกติ และอาจหมดสติ

       
               29.ปัตตาเวีย 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha integerrima Jacq.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Cotton leaved Jatropha
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 1.5 - 2 เมตรมีสีน้ำตาลเข้ม (Dark Brown) ทรงต้นค่อนข้างสูงโปร่ง ใบ มีสีเขียวแก่ (Dark Green) เป็นรูปไข่ขนาดใหญ่ ใบเดี่ยว หลังใบค่อนข้างแดง ดอก เป็นช่อตามปลายกิ่ง สีแดง ชมพู (Red Pink) มีกลีบดอก 5 กลีบออกดอก เป็นระยะตลอดปี ดอกตัวผู้กับตัวเมียแยกกัน และมักจะอยู่คนละช่อ เมล็ด ลักษณะกลม เหลืองออกน้ำตาล
ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ
การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน

       
                        30.บานบุรี 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Allamanda cathartica L.
วงศ์ : Apocynaceae
ชื่อสามัญ : Golden Trumpet, Allamanda, Golden Bell
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มแกมเลื้อย (scandent) ใบ เดี่ยว รูปใบหอก ออกเรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปไข่กลับหรือขอบขนาน ทุกส่วนมียางสีขาวเหมือนน้ำนม ดอก เดี่ยวหรือออกเป็นช่อสั้นๆ กลีบดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ผล กลม สีเขียว มีหนามรอบๆ ผล ผลแก่แตกได้
ส่วนที่เป็นพิษ : ผล และยางต้น
สารพิษ : resin ซึ่งเป็นส่วนผสมของ polycyclic acid และ phenol
การเกิดพิษ : ยางต้นเมื่อถูกผิวหนังจะอักเสบ คัน แดง ถ้ารับประทานยางหรือผลเข้าไปทำให้อาเจียน ทองเดิน ท้องร่วงอย่างรุนแรง การหายใจไม่สม่ำเสมอ ไข้สูง ถ้าสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากอาจถึงตาย
การรักษา : ถ้ายางถูกผิวหนังหรือเข้าตา ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งจนหมดยาง ถ้ารับประทาน ส่งโรงพยาบาลทันทีเพื่อล้างท้อง หรือให้นมสดหรือไข่ขาวรับประทานเพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ ให้น้ำเกลือ หรือรักษาตามอาการ

      
                       31.บอนสี 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Caladium bicolor Vent
วงศ์ : Araceae
ชื่อสามัญ : Fancy Leaf Caladium, Corazon de Maria
ชื่ออื่น : บอนฝรั่ง (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดิน ใบ เดี่ยว ออกเวียนสลับรอบลำต้นเกิดจากตาที่อยู่บนยอดของหัวใต้ดิน ก้านใบยาวงอกออกมาจากลำต้นใต้ดิน แผ่นใบใหญ่รูปหัวใจหรือรูปสามเหลี่ยม ฐานใบเว้าลึก แผ่นใบมีสีแตกต่างกัน ดอก ช่อ เป็นช่อชนิด spadix ก้านช่อดอกงอกออกมาจากหัวใต้ดินเป็นรูปยาวโคนป่อง ช่อดอกมีดอกเพศเมียอยู่ทางโคน ดอกเพศผู้อยู่ทางปลาย มีใบประดับขนาดใหญ่ (spathe) หุ้มมิดขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผล กลม
ส่วนที่เป็นพิษ : ทั้งต้น
สารพิษ : เป็นผลึกรูปเข็มของ calcium oxalate และสารอื่นๆ เช่น sapotoxin
การเกิดพิษ : ถ้ากินเข้าไปจะเกิดอาการไหม้ที่เพดานปาก ลิ้นและคอ กล่องเสียงอาจบวม การเปล่งเสียงจะผิดปกติ และมีอาการคัน อาจอาเจียนด้วย ถ้ายางเข้าตา ตาจะอักเสบระคายเคือง

      
               32.มันแกว 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pachyrhizus erosus L. Urb.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Jicama, Yam bean
ชื่ออื่น : มันแกว (กลาง), หัวแปะกัวะ (ใต้), มันแกวละแวก มันแกวลาว (เหนือ), มันเพา (อีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพัน มีหัวใต้ดิน เป็นรากสะสมอาหาร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ดอกช่อกระจะ ออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ มีขนสีน้ำตาล กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน แบน มีขน เมล็ดมี 4-9 เมล็ด ส่วนที่เป็นพิษ : มันแกวเป็นพืชที่มีหัวใต้ดินซึ่งรับประทานได้ แต่บางส่วนของมันแกวก็เป็นพิษได้เช่นกัน เช่น ใบและเมล็ดของมันแกวนั้นเป็นพิษ
สารพิษ : ฝักอ่อนของมันแกวสามารถรับประทานได้ แต่เมื่อแก่จะเป็นพิษ โดยเฉพาะที่เมล็ดของมันแกวนั้น มีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง หลายชนิด ได้แก่ pachyrrhizin, pachyrrhizone, 12-(A)-hydroxypachyrrhizone, dehydropachyrrhizone, dolineone, erosenone, erosin, erosone , neodehydrorautenone, 12 -(A)-hydroxy lineonone, 12-(A)-hydroxymundu- serone (8), rotenone (9) นอกจากนี้ยังมีสารซาโปนิน ได้แก่ pachysaponins A และ B ซึ่งละลายน้ำได้ และเป็นพิษต่อปลาทำให้ปลาตาย ส่วนใบของมันแกวนั้นมีสารพิษคือ pachyrrhizid ซึ่งมีพิษต่อโคและกระบือมากกว่าม้า
การรักษา : ล้างท้อง ให้รับประทานพวก demulcents เช่น นมและไข่ขาว ระวังการเสีย น้ำและ electrolyte balance ถ้าสูญเสียมากต้องให้น้ำเกลือ ทางเส้นเลือด

       
                  33.มันสำปะหลัง 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Manihot esculenta Crantz
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Tapioca Plant Cassava ,Manioc
ชื่ออื่น : มันสำโรง (กลาง) ต้างน้อย ต้างบ้าน (ภาคเหนือ) มันตัน มันไม้ (ภาคใต้) มันหิ่ว(พังงา) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตรที่มีรากสะสมอาหาร ลำต้นมียางสีขาว ผิวลำต้นมีรอยแผลเป็นของใบอยู่ทั่วไป รากออกเป็นกลุ่ม 5-10 อัน ใบเดี่ยวออกแบบเวียน แผ่นใบเว้าลึก ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้บริเวณยอด โดยแยกเป็นช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมีย แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ผลค่อนข้างกลม
ส่วนที่เป็นพิษ : ราก
สารพิษ : cyanogenetic glycoside
การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานดิบจะทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กันหายใจขัด กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย ชักกระตุก หมดสติ

       
                          34.ยี่โถ 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nerium indicum L.
วงศ์ : Apocynaceae
ชื่อสามัญ : Sweet Oleander, Rose Bay, Ceylon Tree
ชื่ออื่น : ยี่โถฝรั่ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 1-3 เมตร มียางสีขาวทุกส่วน ใบ เดี่ยว รูปเรียว ยาวปลายและโคนใบแหลม ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีแดง สีเหลือง มีทังชนิดกลีบลา และชนิดกลีบซ้อน มีกลิ่นหอมเมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอก เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวยปลาย 5 แฉก ผล เป็นฝัก รูปเรียวยาว แก่จัดผลแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีขน
ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม และทุกส่วนของต้น

           
                          35.ราตรี 

 ชื่อวิทยาศาสตร์: Cestrum noctumum L.
วงศ์ : Solanaceae
ชื่อสามัญ : Night Blooming Jasmine, Queen of the Night, Cestrum, Lady of the Night-
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูงไม่เกิน 2 เมตร แตกกิ่งก้าน ใบ เดี่ยว ใบเรียว ขอบขนาน ปลายใบแหลม ดอก ช่อ สีขาวอมเหลือง กลีบดอกเป็นหลอดยาว ปลายแบ่งเป็น 5 แฉก ดอกบานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอมมาก ( ราตรีสีทอง = Cestrum auranticum Lindl. )
ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ ผล เปลือกต้น
สารพิษ : ผลดิบมีสารพวก solanine alkaloids ผลสุกมี atropine alkaloids ใบมี nicotine, nornicotine alkaloids เป็นต้น
การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเข้าไปภายในครึ่งชั่วโมงจะมีอาการปากคอแห้ง มึนงง ม่านตาขยาย อุณหภูมิในร่างกายขึ้นสูง หัวใจเต้นเร็ว ปัสสาวะไม่ออก การหายใจจะช้าลง

       
                        36.รำเพย 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Thevetia peruviana L.
ชิ่อพ้อง Cerbera thevetia L., Thevetia neriifolia uss.
วงศ์ : Apocynaceae
ชื่อสามัญ : Trumpet Flower, Yellow Campanilla, Yellow Oleander, Lucky Nut
ชื่ออื่น : กระบอก กะทอก บานบุรี ยี่โถฝรั่ง ดอกกระบอก (กรุงเทพฯ) รำพน (ภาคกลาง) แซน่าวา แซะศาลา (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูงได้ถึง 4 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มใหญ่ ใบ เดี่ยว รูปเรียวยาว ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบขนาน แผ่นใบแคบมาก ใบจัดแบบสลับ ดอก เดี่ยว หรือเป็นช่อสั้นๆ มีดอก 3 สี คือ ต้นดอกสีขาว ดอกสีเหลือง และดอกสีส้ม กลีบดอกรูปคล้ายกรวย โคนติดกัน แปลายแบ่งออกเป็น 5 กลีบ จัดซ้อนกัน ผล เป็นรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างกลม สีเขียว ห้อยลง เมื่อแก่จัดสีดำ ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม
ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยาง เมล็ด
สารพิษ : เป็นพวก glycosides thevetin, thevetoxic ออกฤทธิ์คล้าย digitalis แต่ออกฤทธิ์ช้ากว่า
การเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนัง จะมีอาการแพ้เป็นผื่นคัน แดง แสบ ถ้าเคี้ยวเมล็ดจะรู้สึกชาที่ลิ้นและปาก มีอาการปวดแสบปวดร้อน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อาจท้องเสีย ง่วงนอน ม่านตาขยาย ความดันลดลง หัวใจเต้นผิดปกติ ชีพจรเต้นช้าลง ถ้ามีอาการมากและรักษาไม่ทันท่วงทีอาจตายได้ (เด็กรับประทาน 1-3 เมล็ด ผู้ใหญ่รับประทาน 8-12 เมล็ด อาจตายได้)

       
                         37.ละหุ่ง 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ricinus communis L.
 วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Castor Bean
ชื่ออื่น : มะโห่ง,ละหุ่งแดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กทรงพุ่มเตี้ย พบมีปลูกมากในประเทศบราซิล และบริเวณประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตรเช่นประเทศไทยขนาดความสูงของต้นละหุ่งประมาณ 3-5 เมตร มีใบเดี่ยวขนาดใหญ่คล้ายใบปาล์มขอบใบหยัก ก้านยาว ผลมีหนามโดยรอบมี 3 พู รวม 3 เมล็ด เมล็ดแบนรี ด้านนอกโค้งด้านในแบน เมล็ดมีสีชมพูเป็นลายพล้อยปนสีเทาเมล็ดที่แก่จัดจะนำไปใช้ประโยชน์มากมายทางด้านอุตสาหกรรม
ส่วนที่เป็นพิษ : ความเป็นพิษของละหุ่งเกิดจาก ไรซิน (ricin) ซึ่งเป็นสารที่มีพิษสูงมากชนิดหนึ่งในบรรดาอาณาจักรของพืช เนื้อเยื่อในของเมล็ดละหุ่งประกอบด้วยไกลโคโปรตีน (glycoprotein) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ หอบหืดในหมู่คนงาน
สารพิษ : ส่วนของใบ ลำต้น เมล็ดละหุ่งประกอบด้วย โปแตสเซียม ไนเตรท (Potassium nitrate) และกรดไฮโดรไซยานิค ( Hydrocyanic acid) ขนาดของพิษ ricin ที่ทำให้คนถึงแก่ชีวิตประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณละหุ่ง 8 เมล็ด การกินเมล็ดละหุ่งโดยการเคี้ยวและกลืนเข้าไปจะเป็นอันตรายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก ซึ่งมีโอกาสที่จะแพ้สารพิษได้ง่าย แม้จะเป็นเพียงแค่เคี้ยวและกลืนเข้าไปเพียง 1 เมล็ดเท่านั้นก็อาจเสียชีวิตได้

       
                     38.ไฮแดรนเนีย 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hydrnagea macrophylla Thunb.) Ser.
วงศ์ : Hydrangeaceae
ชื่อสามัญ : Hydrangea
ชื่ออื่น : ดอกสามเดือน (เชียงใหม่) ดอกหกเดือน (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 0.8-1.3 เมตร แตกกิ่งก้าน ใบ เดี่ยว รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบมน แต่แหลมกว่าโคนใบ ขอบใบจัก ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่สีเทา ดอก ช่อ ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ดอกสีน้ำเงิน ฟ้า ชมพู่อ่อน หรือเมื่อบานนานๆ จะเป็นสีขาว (ดอกบานได้หลายวัน)
ส่วนที่เป็นพิษ : ทั้งต้นสด
สารพิษ : Cyanogenetic glycosides
การเกิดพิษ : รับประทานจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน เดินเซเหมือนคนเมา หายใจลำบาก กล้ามเนื้อเปลี้ย ถ้าเป็นมากหมดสติ บางรายมีอาการชัก

        
                      39.กระท่อม 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mitragyna speciosa (Roxb.) Korth.
วงศ์ : Rubiaceae-
ชื่ออื่น : อีถ่าง (ภาคกลาง) ท่อม (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม รูปไข่กว้าง ยาว 12-18 ซม. กว้าง 5-10 ซม. ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้านกลม แผ่นใบบาง ด้านท้องใบมีเส้นใบเป็นสันขึ้นมาชัดเจนเมื่อแก่ เส้นแขนงใบข้างละ 8-14 เส้น ก้านใบยาว 2-3 ซม. มีหูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ จำนวน 1 คู่ ลักษณะคล้ายแผ่นใบ ยาว 3-4 ซม. กว้าง 1-2.5 ซม. ปลายแหลม ดอกออกเป็นดอกช่อกระจุกกลม แตกจากปลายกิ่ง มี 1-3 ช่อ ก้านดอกช่อยาว 3-5 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ขนาดสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคนกลีบ ส่วนปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 5 มม. มีขนปกคลุมภายในกลีบดอก เกสรเพศผู้มีจำนวน 5 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลรูปไข่เกือบกลม ขนาดยาว 5-7 มม. มีสันตามความยาวจำนวน 10 สัน เมล็ดมีปีก
ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ
สารพิษ : ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติดทางจิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง
การเกิดพิษ : ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทนแดดไม่รู้สึกร้อน ทำให้ผิวหนังไหม้เกรียมมีอาการมีนงง ปากแห้ง นอนไม่หลับ ท้องผูก ทำให้ร่างการทรุดโทรม มีอาการประสาทหลอน จิตใจสับสน

           
                 40. กัญชา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cannabis sativa L.
วงศ์ : Canabaceae
ชื่อสามัญ : Hemp, Indian Hemp, Ganja, Kif, Weed, Grass, Pot
ชื่ออื่น : กัญชาจีน (ทั่วไป), คุนเช้า (จีน), ปาง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ยานอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 0.9-1.5 ซม. ไม่ค่อยแตกสาขา ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ เรียงสลับ ขอบใบเว้าลึกจนถึงจุดโคนใบเป็น 5-7 แฉก โคนและปลายสอบ ขอบจักฟันเลื่อย ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายยอด ช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จัดเรียงตัวกันห่างๆ ต่างจากต้นเพศเมียที่เรียงชิดกัน ดอกเล็ก ผลแห้งเมล็ดล่อน เล็ก เรียบ สีน้ำตาล
ส่วนที่เป็นพิษ : ใบและช่อดอก
สารพิษ : ยอดของต้นเพศเมียที่กำลังออกดอกเรียก กะหลี่กัญชา เมื่อตากให้แห้งแล้วนิยมนำมาใช้สูบ กะหลี่กัญชาให้เรซินซึ่งเป็นยาเสพย์ติด
การเกิดพิษ : ผู้ที่เมากัญชาจะมีอาการเกิดขึ้นต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม อาจมีอารมณ์สนุกหรือโศกเศร้าก็ได้ มีความรู้สึกเลอะเลือนในเรื่องเวลา บางคนมีอาการก้าวร้าว แต่บางคนมีความหวาดกลัว ความคิดสับสนและเกิดอารมณ์เคลิ้มฝัน ฤทธิ์ของกัญชาอยู่ในร่างกายได้นาน 3-5 ชั่วโมง หลังจากนี้ผู้เสพจะมีอาการเซื่องซึมและหิวกระหาย เมื่อสร่างเมาแล้วนิยมกินของหวาน ผู้ที่สูบเป็นประจำมักสมองเสื่อมและเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ 
 
 


ขอบคุณ  :  https://sites.google.com
  
       
                 
               
                   
                         
                
              



         
                  
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์