ผักที่มีใยอาหารสูง 10 อันดับ


 
 
 
1.ยอดมันปู มี 16.7 กรัม
 
ชื่อท้องถิ่น    มันปู ยอดเทะ (ยอดกะทิ) นกนอนทะเล
 
ชื่อวงศ์  EUPHORBIACEAE
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Glochidion Perakense Hook.f. - Glochidion wallichianum Muell.Arg.
- Littorale Bl.
 
ลักษณะลำต้นเป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดใหญ่ สูงประมาณ 5-6 เมตร  ลักษณะใบใบรีปลายแหลม ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีแดง ผิวหน้าใบลื่นเป็นมัน  ลักษณะดอกออกดอกเป็นกระจุก แต่ละดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอ่อนเกสรสีเหลือง ออกดอกตลอดแนวกิ่งระหว่างโคนใบ  ลักษณะผลออกผลตามลำกิ่ง ผลกลมแบบขนาดเล็กกว่าเมล็ดพริกไทยเล็กน้อยมีลักษระเป็นพู 4 พู มีเมล็ดข้างใน 4 เมล็ด เมล็ดที่สุกสีแดง  ส่วนที่ใช้เป็นอาหารยอดอ่อน   ใช้เป็นอาหารประเภทยอดอ่อนกินเป็นผักสด นิยมกินกับขนมจีน  รสชาติหวาน มัน อมฝาดนิดหน่อย
 
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์เมล็ด ตอนกิ่ง หรือขุดเอาต้นเล็กไปปลูก ส่วนมากขึ้นเองตามธรรมชาติ  พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดีที่ชื้นแฉะ  ฤดูกาลที่ให้ผลผลิตตลอดปี
 
สรรพคุณทางสมุนไพรใบช่วยเจริญอาหาร รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ทั้งต้น ต้มแก้ไขร้อนเย็น
 
 
2.ยอดหมุย มี 14.2 กรัม
 
หมุย สรรพคุณด้านสมุนไพร ราก แก้พิษงู ไข้ ผิวต้นรักษาบาดแผล แก้พิษงู
ประโยชน์ทางอาหาร  ส่วนที่นำมาใช้ ยอดอ่อนและดอก  การปรุงอาหาร กินเป็นผักสดกับน้ำพริก แกงเผ็ดหรือขนมจีน                          
                                   
 
3. ยอดสะเดา มี 12.2 กรัม
 
สรรพคุณด้านสมุนไพร ยอดและดอกมีรสขมจัด ช่วยบรรเทาความร้อนและช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้ทุกชนิด บำรุงธาตุ
ประโยชน์ทางอาหาร  ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและดอกอ่อน   การปรุงอาหาร นำมาเผาไฟหรือลวก กินกับน้ำพริก
ในระยะที่มียอดและดอกสะเดาออกมาก กินไม่ทัน ชาวบ้านจะมีวิธีเก็บไว้กินนานๆ โดยนำมาลวกแล้วตากแดด 2-3 แดด เก็บไว้ในที่สะอาดและโปร่ง เมื่อต้องการบริโภคก็จะนำมาลวกน้ำร้อนอีกครั้ง จะได้สะเดาที่มีรสดีเหมือนสะเดาสดทุกประการเลย
                                            
 
4.เนียงรอก  มี 11.2 กรัม
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Archidendron jiringa Nielsen
 
ชื่อพ้อง : Pithecellobium lobatum Benth.,  P. jirniga (Jack) Prain ex King
 
วงศ์ : Fabaceae 
 
ชื่ออื่นๆ : ขาวแดง คะเนียง ชะเนียง ชะเอียง เจ็งโกล ตานิงิน เนียง เนียงใหญ่ เนียงนก ผักหละต้น พะเนียง มะเนียง มะเนียงหย่อง ยิริงหรือยือริง ยินิกิง หย่อง
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เนียงเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 ม. เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือน้ำตาลอมม่วง เมล็ดมีลักษณะ คล้ายเมล็ดถั่ว 2 ฝา 
 
                                           
 
5..ดอกขี้เหล็ก 9.8 กรัม

ชื่อวิทยาศาสตร์  Cassia Siamea Britt
 
ชื่อวงศ์  Leguminosae
 
ชื่อท้องถิ่น   ลำปางเรียก ขี้เหล็กบ้าน แม่ฮ่องสอนเรียก ผักจี้ลี้ ภาคเหนือเรียก ขี้เหล็กหลวง ภาคกลางเรียก ขี้เหล็กใหญ่ ภาคใต้เรียก ขี้เหล็กจิหรี่
 
ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีใบประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 6–10 คู่ ใบเลี้ยงปลายใบมนหยักเว้าหาเส้นกลางใบเล็กน้อย โคนใบกลม สีเขียวใต้ใบซีดกว่าด้านบน ใบมีขนเล็กน้อย ดอกเป็นดอกช่อใหญ่ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร กลีบดอกสีเหลืองสด ผักแบนหนามีสีน้ำตาลเข้ม
 
สรรพคุณทางยา  ดอกตูมและใบอ่อน รสขม ช่วยระบายท้อง ดอกตูมทำให้นอนหลับ เจริญอาหาร
วิธีนำมาใช้  อาการท้องผูก ใช้ใบอ่อนและใบแก่ 4–5 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหาร หรือเวลามีอาการนอนไม่หลับ กังวลเบื่ออาหาร ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใช้ใบสด หนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำรับประทานก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดอกเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน เปิดคนทุกวัน แล้วกรองกากยาออกจะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก ดื่มครั้งละ 1–2 ช้อนชาก่อนนอน
 
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์  ใบอ่อนและดอก พบว่า มีสารจำพวก Chromone มีชื่อว่า Barakol ส่วนในใบพบสาร Anthraquinones ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย และ พ.ศ.2492 คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ศึกษาโดยใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับ พบว่าสารสกัดจากใบขี้เหล็กด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ระงับประสาทได้ดี ช่วยให้นอนหลับสบาย และระงับอาการตื่นเต้นทางประสาทได้แต่ไม่ใช่ยานอนหลับโดยตรง และไม่พบอาการเป็นพิษ มีความปลอดภัยสูง
 
   
 
6.ผักแพว  มี  9.7กรัม
 
ผักแพวเป็นผักพื้นบ้านจำพวกพืชล้มลุกที่มีลักษณะใบเรียวยาวและมีกลิ่นแรงชนิดหนึ่ง ผักแพวเป็นผักที่อยู่ในวงศ์ POLYGONACEAE ซึ่งตัวอย่างของพืชที่อยู่ในวงศ์นี้นอกจากมีผักแพวแล้วก็ยกตัวอย่างเช่น ผักไผ่น้ำ เป็นต้น
 
ผักแพว เป็นผักปลูกในกระถางจะง่ายและขายเป็นกระถางได้เลยผักแพว เป็นชื่อที่รู้กันทั่วทั้งแผ่นดินไทย แต่ด้วยความเป็นผักพื้นบ้านนี่เอง ทำให้ผักแพวมีหลายชื่อต่างไปตามถิ่น ภาคอีสานเรียกว่าผักแพ้ว ผักพริกม้า (ทางอีสานออกเสียง "พิกม่า") ผักจันทน์โฉม (เรียกกันมากในจังหวัดนครราชสีมา) ภาคเหนือเรียกผักไผ่ เพราะผักแพวมีลักษณะลำต้นคล้ายต้นไผ่ มีข้อตามต้นเหมือนเป็นปล่องไผ่ มีใบยาวรี ปลายแหลมเหมือนใบไผ่ เพราะลักษณะที่เหมือนไผ่ดังกล่าวนี้เอง ผักแพวจึงรู้จักแพร่หลายต่อมาในชื่อว่า "ผักไผ่"
 
 
7.ยอดมะยม  มี  9.1  กรัม
 
มะยม เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่เบี้ยว หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ตำราไทยใช้ รากแก้ไข รักษาโรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ใบ ต้มน้ำอาบแก้คัน แก้ไข้ เหือด หิด อีสุกอีใส
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
 
 
8.ใบเลียง   มี  8.8 กรัม
 
ชื่ออื่น เลียง เหมียง เขรียง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  เหลียง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยว คล้ายใบยางพารา กว้าง ๔-๑๐ เซนติเมตร ปลายใบเรียวปลายแหลม สีเขียวเป็นมันสดใส แต่ถ้าอยู่ในที่โล่งรับแสงแดด สีใบจะจาง ดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อตามข้อกิ่ง ช่อยาวประมาณ ๓-๔ เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว ออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ต้นที่มีอายุ ๕-๖ ปีขึ้นไปจึงจะมีดอก และไม่แน่นอนทุกปี คือ ถ้าปีใดฝนตกมากจะไม่เป็นดอก ถ้าแล้งจะออกดอกและติดผลมาก ผลกลมยาวคล้ายไข่ ผลเมื่อแก่เปลือกและเนื้อหุ้มเมล็ดมีสีเหลือง เปลือกหุ้มเมล็ดค่อนข้างบาง ในหนึ่งช่อมีประมาณ ๑๐-๒๐ ผล

แหล่งที่พบเหลียงชอบขึ้นในป่าดงดิบบนภูเขาที่มีต้นไม้ปกคลุมหนาทึบ มีมากในภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดระนองและชุมพรการขยายพันธุ์ ทำโดยการเพาะเมล็ด กิ่งตอน ปักชำกิ่ง และแยกต้นแขนง การปลูกจากกิ่งตอนทรงพุ่มจะดี ให้ผลผลิตเร็วและมาก การบริโภคและสรรพคุณใบอ่อนและยอดอ่อนของเหลียงใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างนิยมใช้แกงเลียง ห่อเมียงคำ (จะลวกก่อน) รองห่อหมกไว้ก้นกระทง ผัดวุ้นเส้น ลวกจิ้มกับน้ำพริก ต้มกะทิ ผัดต่างๆ แกงจืดหมูสับ ใบเหลียงมีรสชาติหวานมัน ใบผักเหลียงที่อร่อยควรเป็นผักเหลียงที่ขึ้นในที่ร่ม เหลียงมีคุณค่าทางอาหารสูง เมื่อรับประทานแล้วทำให้ร่างกายแข็งแรง กระปรีกระเปล่า แก้กระหายน้ำ นอกจากนี้เหลียงยังมีสรรพคุณทางสมุนไพร ช่วยลอกฝ้า
 
 
9.หมากหมก มี  7.7 กรัม 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepionurus sylvestris Blume

ชื่อพื้นเมือง: ผักหวานใบแหลม

ชื่อวงศ์: OPILIACEAE

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์:  เป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้น สูง 0.5-1 เมตร ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปรีหรือขอบขนาน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบสอบเรียวสั้นหรือกลม ดอก เป็นช่อแบบกระจะ มีขนาดเล็กห้อยลงออกบริเวณซอกใบและปลายยอด ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้มรอบช่อดอก ผลรูปกลมรี ขนาด 0.7-0.8 x 0.9-1.0 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีแดงช่วงการออกดอกและติดผล: เกือบตลอดปี นิเวศวิทยา: พบทั่วไปในป่าดิบชื้นและป่าโปร่ง

ประโยชน์: ใบใช้บริโภคเป็นผักสด การขยายพันธุ์:ใช้เมล็ด
   
 
10.ผักเม่า มี 7.1 กรัม

สรรพคุณของหมากเม่า  ช่วยระบายท้อง ขับเสมหะ แก้ไอ ฟอกโลหิต บำรุงธาตุน้ำ ส่วนใบยังต้มให้สตรีหลังคลอดเพื่ออาบ เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี ลำต้น ราก ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย และอื่น ๆ อีกมากมาย

หมากเม่า มีบทบาทมากขึ้น หลังจากวิจัยพบว่า หมากเม่า มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย จึงมีการคิดค้นแปรรูป ผลผลิตจากผลหมากเม่าสดออกมา ในรูปของ "ไวน์หมากเม่า"  สามารถทำเป็นสินค้าส่งออกยังต่างประเทศ  เพราะได้รับความนิยมจากที่ได้ศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ชาวท้องถิ่น มีการทำสวนหมากเม่ามากขึ้น ปลูกทำเป็นสวนใหญ่ขนาดใหญ่ เนื้อที่มากมาย  นอกจากที่ปลูกในพื้นที่อีสานแล้ว ชาวสวนในภาคกลาง  นำต้นหมากเม่า มาขยายพันธุ์และปลูกในพื้นที่ภาคกลาง เช่นที่จังหวัดปทุมธานี เป็นต้น

ซึ่งใยอาหารในผัก ทำให้ร่างกายขับถ่ายอุจจาระได้เร็วขึ้น ท้องไม่ผูก ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง ส่งผลให้ลดระดับการใช้อินซูลิน นอกจากนี้ใยอาหารบางชนิด ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
 
 
 
 
 
ขออบคุณ  :  http://nanasarakaset.blogspot.com
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์