ชัชชาติ-กรณ์ ดีเบต 2 ล้านล้าน


 

                           ******

สุดท้ายก็ได้ฤกษ์เจอกันเสียทีครับ กับการดีเบตระหว่าง รมว.คมนาคม-ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กับ อดีตรมว.คลัง-กรณ์ จาติกวณิช

ความจริงมีเวทีที่จัดให้มีการเจอกันในลักษณะคล้ายๆ กับการดีเบตมาแล้ว 2 เวที เวทีแรกจัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าว ตอนนั้นเชิญฝ่ายรัฐบาล 2 คนคือ รมต.วราเทพ กับ รมต.ชัชชาติ คาดว่า รมต.วราเทพ จะได้มาอธิบายประเด็นการคลัง ส่วนรมต.ชัชชาติ พูดประเด็นการก่อสร้างลงทุน ฝ่ายค้านก็มี อดีตรมว.คลัง กรณ์ กับ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม.ดร.สามารถ แต่สุดท้ายปรากฏว่า ฝ่ายรัฐบาลขอยกเลิกล่วงหน้ากะทันหัน ทำให้สมาคมที่จัดงาน ต้องยกเลิกทั้งงานไปเลย ครั้งที่ 2 ก็ที่นิด้า ที่เป็นเรื่องเป็นราวดราม่าในโลกออนไลน์ เพราะโบรชัวร์โฆษณาก็มีหน้าสองคนหรามาตลอดจนถึงวันงานว่า จะมีการดีเบต คนร่วมงานก็เฝ้ารอจับตามาฟังสองคน อยู่ๆ รัฐมนตรีชัชชาติไม่โผล่มา แต่กลับโพสต์เฟซบุ๊คว่า ส่งจดหมายมานานแล้วว่า ส่งตัวแทน แต่ตัวแทนก็ไม่มา และนิด้าก็ประกาศกลางเวทีว่า เสียดายที่เพิ่งทราบว่า รมว.ชัชชาติไม่มา ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร คนในงานวันนั้นทราบดีครับ

ครั้งนี้ ครั้งที่ 3 ตอนแรกแอบหวั่นลึกๆ ว่า จะมาจริงรึป่าว แต่ก็ไม่ผิดหวังครับ ได้เห็นการดีเบต ระหว่างรมว.คมนาคม ชัชชาติ กับอดีตรมว.คลัง กรณ์ สมใจ

คำถามคือทำไม ไม่เป็น รมว.กิตติรัตน์ กับ อดีตรมว.คลัง กรณ์คำตอบคือ พูดกันไม่รู้เรื่องแล้วครับ คนจัดส่วนใหญ่เขาเลยมองอีกมุมคือเขาเข้าใจว่า ฝ่ายค้านไม่ได้ค้านการลงทุน ไม่ได้ค้านการพัฒนาประเทศ ไม่ได้ค้านการที่ประเทศจะพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง แต่ฝ่ายค้านย้ำทุกครั้งว่า ค้านประเด็นการเงิน ที่มาแหล่งเงิน และความโปร่งใสตรวจสอบได้จากแหล่งเงินนั้น ซึ่งการกู้นอกระบบแบบนี้ ไม่ตอบโจทย์ แถมส่อขัดรัฐธรรมนูญ หมวด 8 วินัยทางการคลัง จึงกลายเป็นว่าภาพรวมการดีเบตคือ คุณกรณ์ ปลอบคุณชัชชาติว่า “ไม่เป็นไรนะคมนาคม หากคลังของเธอหาเงินนอกระบบแบบนั้นให้เธอไม่ได้เพราะขัดกฎหมาย เรานี่แหละจะสร้างความมั่นใจให้เองว่า ในระบบก็มีพอให้เธอสร้าง แต่เพื่อนๆ เธอเอาไปโกงต่อยากกว่าก็เท่านั้น”

            

การดีเบตเริ่มต้นขึ้นด้วยประเด็น บทบัญญัติรัฐธรรมนูญหมวด 8 วินัยการคลัง คุณชัชชาติอ้างถึงกฤษฎีกา ที่ถือเป็นฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลมาตีความว่า ทำแบบนี้ไม่ผิด แต่คุณกรณ์ก็มีมือฉมังฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์และความเห็นของอดีตผู้พิพากษา อดีตตุลาการศาลฯต่างๆ ที่ให้ความเห็นไว้ในที่สาธารณะมาแย้งโต้ว่า ผิดชัดเจน โดยเฉพาะประเด็น “เงินแผ่นดิน” ที่แม้กระทั่งปีหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2542 ไว้ว่า “การควบคุมและตรวจสอบเงินแผ่นดินเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะเงินแผ่นดินนั้นคือเงินของประชาชนทั้งชาติผู้ทำงานนี้ จึงต้องกำหนดแน่แก่ใจอยู่เป็นนิตย์ที่จะปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบของตน ด้วยความอุตสาหะพยายาม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และด้วยความละเอียดถี่ถ้วนระมัดระวังอย่างเต็มที่ เพื่อมิให้เกิดความพลั้งพลาดเสียหาย และให้มั่นใจได้ว่าการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินได้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ และบังเกิดผลเป็นประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย”

ประเด็นต่อมา ต่อจุดยืนของฝ่ายค้านที่ว่า สนับสนุนให้ลงทุนพัฒนา แต่ไม่จำเป็นต้องกู้ 100% หากกู้ต้องไม่กู้นอกระบบนั้น รมว.ชัชชาติรับเองในการดีเบตว่า “รองกิตติรัตน์เองก็ยอมรับว่า ใช้เงินในระบบงบประมาณได้”แต่ขอเลือกเดินทางที่กู้ด้วยพ.ร.บ.พิเศษนอกระบบงบประมาณ 2 ล้านล้านเหมือนเดิมด้วยเหตุผลอย่างไรก็ไม่สามารถให้ไว้ได้ชัดเจน โดยการบอกว่า  ตัวเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินการคลัง

ต่อมา คุณกรณ์ได้ย้ำต่อให้คุณชัชชาติได้มั่นใจอีกว่า“หากไม่มีกฎหมายกู้นอกระบบแบบนี้ การลงทุนไม่สะดุด” ขอให้คุณชัชชาติ มั่นใจว่า ยังไงก็แล้วแต่ กระทรวงการคลังหาเงินมาใช้คุณชัชชาติใช้ได้ และจะดีกว่าด้วยซ้ำหากเป็นเงินในระบบ วาทกรรมทางการเมืองที่ว่า “ใครค้าน เป็นตัวถ่วงความเจริญ” ถือว่าตกไปและมีอีกหลายประเด็นสำคัญทั้งเรื่องการร่วมตรวจสอบจากภาคเอกชน ภาคเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นที่ รมว.ชัชชาติ อ้างถึงตั้งแต่ในสภาวาระ 1 ที่พอในชั้นกรรมาธิการฝ่ายรัฐบาลถึงกับหักดิบฝ่ายค้านโหวตยืนยันการปฏิเสธให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการเข้าตรวจสอบ ตั้งแต่ชั้นร่างตัวบทกฎหมาย ในฐานะเป็นที่ปรึกษาในกรรมาธิการ

ประเด็นคอร์รัปชั่น พอฝ่ายคุณกรณ์บอกว่า หากกู้มานอกระบบแบบนี้ ตรวจสอบได้ยากโกงง่าย รมว.ชัชชาติไม่ได้ปฏิเสธ แต่กลับบอกว่า ถึงแม้เป็นเงินในระบบงบประมาณ ก็ทุจริตได้ ให้แก้ที่ต้นเหตุจะดีกว่า คุณกรณ์เลยตอกกลับไปว่า “ถ้าใช้เงินนอกระบบ จะยิ่งขยายโอกาสให้ทุจริตได้มากขึ้นไปอีกมาก” ซึ่งประเด็นนี้ คุณชัชชาติอาจจะรู้หรือไม่รู้ แต่คนที่รอคอยการทุจริตนี้ ก็จะใช้คุณชัชชาติที่มีภาพลักษณ์ใสสะอาดและมากความสามารถที่สุดในรัฐบาลนี้ เป็นเครื่องมือหากินของพวกเขา

ประเด็นเส้นทาง รถไฟความเร็วสูงที่ริเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ตอนนั้นแผนของรัฐบาลก่อนให้ความสำคัญกับภาคอีสานเป็นอันดับหนึ่ง เพราะจะเป็นการขยายโอกาสเส้นทางการค้าไปจีน โดยเชื่อมที่หนองคายและยาวลงใต้ไปปาดังเบซาร์เชื่อมมาเลเซีย สิงคโปร์ แต่รัฐบาลเพื่อไทยเอามาทำใหม่ เงินใน 2 ล้านล้านที่ก่อสร้างจริงๆ แล้วเหลือแค่ โคราช-หัวหิน ไม่เชื่อมเพื่อนบ้าน แต่จะสร้าง กทม.-เชียงใหม่ เป็นเส้นทางแรกแทน แบบนี้ก็ถูกหลอกใช้ตั้งแต่แรกไม่ทราบรู้ตัวแล้วยังนะครับ

นอกจากนี้ รถไฟความเร็วสูงสายเชียงใหม่ หน่วยงานคมนาคมเองที่ให้ข้อมูลในกรรมาธิการบอกว่า สายเชียงใหม่มูลค่าก่อสร้างรวม 3 แสนล้านยังไม่รวมค่าดำเนินการค่าจ้างเดินรถวิ่ง มีแต่รางกับรถ พอสร้างเสร็จแล้ว นอกจากเงินกู้ 2 ล้านล้าน ภาระดอกเบี้ย 3 ล้านล้าน ยังต้องมีเงินชดเชยขาดทุนสายเชียงใหม่สายเดียวที่ปริมาณผู้โดยสารคำนวณออกมา ต้องเสียปีละ 2 หมื่นล้าน โดยต้องจ่ายจากภาษีประชาชนเพิ่มอีกต่างหาก เรื่องแบบนี้ก็ยังไม่บอกประชาชนว่าต้องเอาภาษีคนทั้งชาติมาชดเชยให้คนที่จะได้ขึ้นรถไฟความเร็วสูงไปเที่ยวแค่เชียงใหม่

ส่วนตอนท้ายก็มีการพูดถึงแผน ไทยเข้มแข็ง 2020 ที่ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นว่า ที่ปี 2020 แผนลงทุนจากนี้ไป 7 ปีเท่ากัน เราเอาแผนทั้งหมดที่คิดตั้งแต่สมัยรัฐบาลก่อน ซึ่งอยู่ในแผนตอนนี้ของรมว.ชัชชาติ เรื่องหลักเลยคือ รถไฟทางคู่ จากที่เอาแผนแม่บทรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่จะสร้างอยู่แล้ว 17 สาย คุณชัชชาติดันเอามาแค่ 11 สาย ไทยเข้มแข็ง 2020 ก็เพิ่มกลับเป็น 17 สาย ส่วน รถไฟความเร็วสูงตัดลดงบ จาก 8 แสนล้านเหลือ 3 หมื่นล้าน เพราะที่เหลือไปศึกษามาให้เสร็จจริงๆ ก่อนแล้วค่อยมาเอาเงินไปสร้าง ไม่ควรขอวงเงินไปก่อนแต่ยังศึกษาไม่เสร็จเลย

สุดท้ายครับ พรรคประชาธิปัตย์โดยคุณกรณ์ก็ย้ำอีกรอบว่า สนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานพัฒนาประเทศประเด็นคือหากเราเป็นประเทศร่ำรวยสร้างทั้งหมดได้เลยโดยไม่ต้องกู้ ก็ดีไป แต่นี่เป็นเงินกู้ เป็นภาระภาษีประชาชนทั้งหมด จึงต้องมีหลายมิติให้รัฐบาลต้องคิดให้รอบคอบ และฝ่ายค้านก็ต้องตรวจสอบตามหน้าที่ รวมทั้งองค์กรอิสระที่จะตรวจสอบต่อไปจากการยื่นตีความของฝ่ายค้าน ก็จะได้ทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ตามการถ่วงดุลในอำนาจอธิปไตยของระบอบประชาธิปไตย
                                                                               
                                                                                  โดย..พัสณช เหาตะวานิช

ขอบคุณ  :  http://www.naewna.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์