เลือก “กกต.-ป.ป.ช.-ผู้ตรวจฯ” หญิงเหล็ก“สุภา”ตัวเต็งป.ป.ช.


 
           

รอบสัปดาห์หน้านี้ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2556 ไปจนถึง 22 ตุลาคมเป็นช่วงของการจับตากระบวนการจัดทัพในองค์กรอิสระ 3 แห่ง เพื่อเลือกบุคคลเข้าไปทำหน้าที่เป็นกรรมการองค์กรอิสระ 3 แห่งคือ
       
       คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)
       
       คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)
       
       และผู้ตรวจการแผ่นดินฯ
       
       โดยในวันอังคารที่ 15 ตุลาคมนี้ ที่รัฐสภาจะมีการประชุมคณะกรรมการสรรหากกต.และกรรมการสรรหาป.ป.ช.พร้อมกันในวันเดียว วันที่ 22 ตุลาคม ก็จะมีการประชุมกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินต่อไป
       
       ขณะเดียวกันในรอบสัปดาห์หน้า แต่จะเป็นวันไหนต้องดูอีกที คาดว่าจะมีการเรียกประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นครั้งที่ 3 เพื่อลงมติเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกกต.ในสัดส่วนที่จะมาจากศาลฎีกาอีก 1 คน หลังจากปรากฏว่าที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเมื่อ 9 ต.ค.ไม่สามารถได้ตัวคนที่ศาลฎีกาจะส่งชื่อไปให้วุฒิสภา โหวตรับรองเห็นชอบเป็นกกต.คนที่ 2 ต่อจาก นายศุภชัย สมเจริญ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาที่เตรียมจ่อได้เป็นกกต.ไปแล้วหนึ่งคนหลังศาลฎีกาโหวตเลือกไปในการประชุมนัดแรกเมื่อ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา
       
       ที่ต้องมีการประชุมกันเป็นครั้งที่ 3 เพราะการประชุมใหญ่ศาลฎีกาเมื่อ 30 ก.ย.และ 9 ต.ค.ที่ประชุมไม่สามารถโหวตเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกกต.คนที่ 2 ได้เนื่องจากผู้ได้รับการเสนอชื่อที่เสียงผ่านในรอบแรกปรากกฏว่าในการโหวตรอบ2 ที่จะต้องได้คะแนนเสียงโหวตจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมประชุม
       
       ผลปรากฏว่า ประชุมกันไปสองนัดยังหาคนที่ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งแบบนายศุภชัยสมเจริญไม่ได้ จึงต้องประชุมกันนัดที่ 3 ต่อไป
       
       กรณีที่เกิดขึ้นกับศาลฎีกาดังกล่าว มองในอีกมุมหนึ่ง ได้สะท้อนให้เห็นอะไรบางอย่างว่าการที่ใครจะฝ่าด่านได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้ไปเป็นกรรมการองค์กรอิสระก็ได้เห็นกันแล้วว่าที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีการพิจารณาคัดกรองกันอย่างเข้มข้นขนาดไหนเรียกได้ว่าต่อให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นระดับอดีตบิ๊กตุลาการขนาดไหน ก็ไม่ได้มีผลใดๆต่อการลงคะแนนเสียงของที่ประชุมได้เลยเพราะมีการพิจารณากลั่นกรองกันอย่างเข้มข้น
       
       แม้ใจจริงแล้วฝ่ายศาลเองไม่ได้ต้องการอยากมีส่วนร่วมใดๆทางการเมืองผ่านการส่งคนไปเป็นกรรมการองค์กรอิสระหรือเลือกคนไปเป็นกรรมการสรรหาองค์กรอิสระบางองค์กรอย่างเช่นกกต.หรือผู้ตรวจการแผ่นดินตามที่รธน.ปี 50 บัญญัติไว้แต่เมื่อรธน.บัญญัติไว้แบบนี้ ศาลก็ปฏิเสธไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้ทำแบบว่าขอไปทีมีการกลั่นกรองคัดเลือกคนอย่างเข้มข้นหลายชั้น
       
       แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานการคัดเลือกคนไปเป็นองค์กรอิสระของฝ่ายศาลคัดกรองกันด้วยระบบที่เปิดเผยโปร่งใส และไม่ปล่อยให้อำนาจอื่นเข้ามาสั่งซ้ายหันขวาหันได้
       
       สรุปได้ว่าศาลยังเป็นที่พึ่งของสังคมไทยได้ไม่ต้องห่วง
       
       สำหรับการลงมติเลือกกกต.-ป.ป.ช.ในวันที่ 15 ต.ค.ที่ต้องรอลุ้นและจับตามองกันก็เพราะทั้งสององค์กรนี้ ใครๆก็รู้ว่าเป็นองค์กรอิสระที่มีอำนาจในมือมากมายโดยเฉพาะในการให้คุณให้โทษทั้งทางคดีความและในทางการเมืองแถมอยู่ในตำแหน่งก็หลายปีอย่างกกต.ก็ 7 ปีป.ป.ช.ก็ 9 ปี ก็ทำให้คนต้องการไปนั่งทำงานใน2 องค์กรนี้ไม่น้อย
       
       แม้แต่กับพวกนักการเมืองต่างก็ต้องการส่งคนเข้าไปแทรกซึม-มีตำแหน่งในองค์กรอิสระทั้ง 2 แห่งจะได้เป็นการเข้าไปยึดครองครอบงำองค์กรอิสระที่จะสร้างประโยชน์การเมืองให้มากมายถ้าไม่ถูกจับได้เสียก่อนเหมือนกับที่ทักษิณชินวัตรและพรรคไทยรักไทยเคยมาแล้วก่อนหน้านี้ในการส่งคนของตัวเอง หรือคนที่พร้อมจะยอมเป็นพวกไปเป็นกกต.และป.ป.ช.ดีที่มาเกิดกรณีอย่างคดี 3 หนากกต.หรือคดีอดีตป.ป.ช.ถูกศาลฎีกาฯตัดสินจำคุกแต่รอการลงโทษในคดีขึ้นเงินเดือนตัวเองเลยทำให้แผนครอบงำองค์กรอิสระของระบอบทักษิณถูกเปิดโปง
       
       กระนั้นก็อย่าได้วางใจ การรุบคืบ ยึดองค์กรอิสระ ของบางกลุ่มการเมืองมีอยู่ทุกขณะ แม้แต่กับการเลือกกกต.-ป.ป.ช.และผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่จะเกิดขึ้นหรือหากรุกคืบแทรกแซงยึดกุมไม่ได้อย่างน้อยก็ต้องพยายามสกัดคนที่เห็นว่าเข้าไปแล้วจะไม่เป็นคุณกับฝ่ายตัวเองไม่ให้ได้รับเลือกให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะลำบากทางการเมือง
       
       ขอให้จับตาดูกันให้ดี เพราะข่าวว่าการพยายามจะเข้าไปแทรกซึมองค์กรอิสระหรือสกัดฝ่ายตรงข้ามไม่ให้เข้าไปเป็นองค์กรอิสระของนักการเมืองบางสายกำลังเกิดขึ้นแล้วในการเลือกองค์กรอิสระอย่างกกต.-ป.ป.ช.เพียงแต่ต้องทำกันแบบเนียนๆ ส่วนจะสำเร็จหรือไม่ ก็ต้องรอดูกัน
       
       สำหรับการเลือกว่าที่กกต.ของกรรมการสรรหาฯ ที่จะเลือกจำนวน 3 คนรวมกับที่จะมาจากสายศาลฎีกาอีก 2 คนเป็น 5 คนแล้วส่งชื่อไปให้วุฒิสภาลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรายชื่อที่ส่งไป
       
       ก็พบว่าในจำนวนรายชื่อผู้สมัครเป็นกกต.42 คนหลายคนเริ่มถูกจับตามองว่าจะเป็นตัวเต็งกันแล้ว
       
       ที่น่าสนใจและคนส่วนใหญ่รู้จักที่มาสมัครก็อาทิเช่น นายประวิชรัตนเพียร อดีตผู้ตรวจการแผ่นดิน-นายคมสัน โพธิ์คงนักวิชาการจากม.สุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งหากนายคมสันถูกมองว่าเป็นนักวิชาการสายไม่เอาระบอบทักษิณแต่ก็พบว่ามีนักวิชาการที่ก็ถูกมองว่าเป็นสายเสื้อแดงมาสมัครเช่นกันคือนางสุดสงวนสุธีสร อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดาอดีตประธานกกต.ประจำกทม.-นายสมชัย ศรีสุทธิยากรเลขาธิการพีเน็ตและอดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
       
       และเป็นเรื่องปกติว่าพวกอดีตข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เคยมีตำแหน่งใหญ่พอหมดอำนาจก็มักจะมาสมัครเป็นกรรมการองค์กรอิสระกัน รอบนี้ก็มีเยอะพอสมควร
       
       อาทิ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรีอดีตผบ.ตร.และอดีตปลัดกระทรวงคมนาคมที่เพิ่งเกษียณเมื่อ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา-พ.ต.อ.โภคพิบูลย์ โปตระนันทน์อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ -วัยวุฒิ หล่อตระกูล อดีตรองอัยการสูงสุด -ประชา เตรัตน์อดีตหัวหน้าผู้ตรวจฯ กระทรวงมหาดไทย-นายยุทธนา ทัพเจริญอดีตผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย
       
       ส่วนคนที่ทำงานในสำนักงานกกต.หรือเคยอยู่มาก่อนนอกจากพล.ต.ท.ทวีศักดิ์ตู้จินดา ก็ไม่พลาดโอกาสทองในการยื่นใบสมัครอาทิ นายสมชาติ เจศรีชัย รองเลขาธิการกกต.-นายพีระพงษ์ ไพรินทร์ ผู้ตรวจราชการ สำนักงาน กกต.
       
       จากรายชื่อข้างต้นที่ยกมาตรวจแถวและดูสายสัมพันธ์คอนเน็คชั่นอะไรต่างๆ รวมถึงประวัติการทำงาน ก็น่าเชื่อว่าในรายชื่อข้างต้นน่าจะมีอย่างน้อย 2 คนจะได้รับการโหวตจากกรรมการสรรหาฯกกต.ที่มีนายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกาเป็นประธานและมีกรรมการโดยตำแหน่งอย่าง ประธานศาลปกครองสูงสุดประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านฯ บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกส่งมาอีก 2 คน
       
       ส่วนอีกหนึ่งคนคือ ประธานศาลรธน. ก็ต้องดูว่า นายจรูญ อินทจารว่าที่ประธานศาลรธน. จะเข้าร่วมได้ทันหรือไม่ หากทันกก.สรรหาฯก็จะมี 7 เสียง ถ้าไม่ทันก็ 6 เสียง โดยคนที่จะได้รับเลือก ต้องได้คะแนนเสียงอย่างน้อย 2 ใน 3 ของเสียงที่ประชุม
       
       ใครจะได้รับการโหวตให้ถูกเสนอชื่อเป็นกกต. บ้างยังประเมินกันไม่ได้ แม้จะมีการเก็งกันไปต่างๆ
       
       แล้วพอเสร็จจากเลือกกกต.เสร็จ วันเดียวกันก็เลือกว่าที่ป.ป.ช.ที่จะมาแทน กล้านรงค์ จันทิก กันต่อเลย

                 
           
       ในส่วนของการเลือกป.ป.ช.หลายคนให้เต็งหนึ่งยังเป็นชื่อน.ส.สุภาปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลังที่เป็นหนึ่งในข้าราชการประจำที่เหลืออยู่ไม่กี่คนที่กล้าทักท้วงการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ชินวัตรกับเรื่องโครงการรับจำนำข้าวยิ่งป.ป.ช.เองก็มีสำนวนคดีรับจำนำข้าวรวมถึงการสอบสวนเรื่องโครงการเกี่ยวกับสินค้าเกษตรมากมายอยู่ระหว่างการไต่สวนหากได้น.ส.สุภาไปเป็นป.ป.ช.คงทำให้การทำงานของป.ป.ช.มีประสิท ธิภาพมากขึ้น   
    
       อย่างไรก็ตาม ก็ใช่ว่าผู้สมัครคนอื่น คุณสมบัติไม่เด่นเพราะหลายคนก็มีสิทธิลุ้นได้เช่นกันจากผู้สมัครทั้งสิ้น 10 คนไม่ว่าจะเป็นอาทิพลเดชปิ่นประทีป อดีตรมช.พัฒนาสังคมฯ--พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิรองปลัดกระทรวงยุติธรรม-ณรงค์ รัฐอมฤต อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการ ป.ป.ช.       
       ยังไม่แน่ อาจมีคนเบียด น.ส.สุภา เต็งหนึ่งเข้าไปนั่งเป็นป.ป.ช.ก็ได้เพียงแต่เวลานี้ ยังต้องให้ สุภา มีความเป็นไปได้มากสุดอยู่
       
       และต่อจากนั้น 22 ตุลาคม ก็จะมีการเลือกผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่ในส่วนของผู้ตรวจการแผ่นดินต้องยอมรับว่าด้วยอำนาจที่มีน้อยกว่าป.ป.ช.-กกต. อยู่มาก และถูกมองว่าเป็นเสือกระดาษ ทำให้คนสนใจสมัครกันน้อย ไม่อย่างนั้น ประวิชคงไม่ลาออกจากผู้ตรวจการแผ่นดินไปสมัครเป็นกกต.แน่นอน
       
       โดยจากการตรวจสอบล่าสุดพบว่าจนถึงวันที่ 9 ต.ค.ก่อนปิดรับสมัคร 10 ต.ค.มีผู้สมัครเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินรวม 3 คนคือนายพรเพชรวิชิตชลชัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ,นายวิสูตรสีหนนท์ อดีตประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งเขต 21 กรุงเทพฯและพล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม
       
       สัปดาห์หน้านี้จึงเป็นช่วงแห่งการเลือกองค์กรอิสระที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ
 
 
ขอบคุณ :  http://www.manager.co.th
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์