พืชมีพิษ !! (3)



        
               41.ทองหลางใบมน 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrina Fuscsa Lour.
ชื่อพ้อง : Erythrina glauca Willd.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Chekring, Coral Bean, Purple Coral-Tree, Swamp
ชื่ออื่น : ทองหลางน้ำ ทองโหลง (ภาคกลาง) ทองหลางบ้าน (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบ เรียงสลับ มี 3 ใบย่อย มีหูใบ ใบย่อยรูปไข่หรือโค้ง ใบมีขน ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกแบบสลับ ออกที่ยอด ดอกย่อยออกเป็นกระจุก กระจายกันตามก้านดอก ดอกสีแดงอิฐ มีใบประดับรูปไข่ ผลเป็นฝัก เปลือกแข็ง มีขนปกคลุม เมล็ดรูปโค้งแกมขอบขนาน สีน้ำตาลดำหรือดำ
ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด
สารพิษ : agglutinin, butyric acid, g-amino, erysodine, erysopine, erythraline, erythratidine, erythratine, d-acetyl-ornithine
การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไป ทำให้คลุ้มคลั่ง คล้ายวิกลจริต

       

                     42.ใบระบาด 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer
วงศ์ : Convolvulaceae
ชื่อสามัญ : Morning Glory , Baby Hawaiian Woodrose
ชื่ออื่น : ผักระบาด (ภาคกลาง) เมืองบอน (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ยาวได้ถึง 10 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว และขนสีขาวหนาแน่น ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปหัวใจ กว้าง 9 - 25 เซนติเมตร ยาว 11 - 30 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้า ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม สีเทาเงิน ดอก สีม่วงอมชมพูออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อแข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ใบประดับ รูปไข่ ยาว 3 - 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกรูปกรวย ยาวประมาณ 6 เซนติเมตรปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายมีติ่ง
ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ เมล็ด
สารพิษ : เมล็ด( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides
การเกิดพิษ : ใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลุ้มคลั่ง ตาพร่า มึนงง เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน

       
                     43.ผักบุ้งทะเล 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea pes-caprae ( L.) R.br.
วงศ์ : Convolvulaceae
ชื่อสามัญ : Goat's Foot Creeper, Beach Morning Glory
ชื่ออื่น : ละบูเลาห์ (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยล้มลุก เลื้อยไปตามผิวทรายหรือดิน ชอบขึ้นในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ เดี่ยว แผ่นใบกว้าง โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึก ดอก ช่อ มี 4-6 ดอก กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบดอกติดกันปลายบานคล้ายปากแตร ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆ จะหุบเหี่ยว ผล เป็นผลแห้งแตกได้
ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด
การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน คลุ้มคลั่ง หวาดผวาคล้ายวิกลจริต

       
               44.เพชฌฆาตสีทอง 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gelsemium elegans (Gardner&Champ.) Benth.
วงศ์ : Loganiaceae
ชื่อสามัญ : Graceful gelsemium, Chinese gelsemium
ชื่ออื่น : ก๊กม่วน (อุดรธานี) ซัวนาตั้ว (แม้ว-น่าน) มะเค็ด (น่าน) มะลินรก สามใบตาย (น่าน) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงกันข้าม ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. รูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาว 5-14 ซม. กว้าง 2-5 ซม. ปลายแหลม โคนใบกลมมนหรือเรียวเป็นครีบ มีเส้นแขนงใบ 6-12 คู่ ดอกเป็นดอกช่อกระจุกแน่น เป็นช่อยาว 3-12 ซม. ผิวเกลี้ยง มีใบประดับย่อยที่โคนช่อดอก ยาว 1-2 มม. รูปหอก มีขนยาวปกคลุม ก้านดอกยาวได้ถึง 6 มม. กลีบเลี้ยงมีสีเขียว ยาว 0.5-1 มม. มีขนปกคลุม มี 5 กลีบ กลีบดอกรูปหลอด ยาวประมาณ 1.5 ซม. มี 5 กลีบ สีเหลือง หรือออกเหลืองส้ม เส้นผ่านศูนย์กลางกลีบดอกประมาณ 7 มม. มีจุดประสีแดงภายใน กลีบดอกแยกเป็นแฉก 5 กลีบ จักลึกประมาณ 7 มม. ปลายแหลม หรือกลมมน เกสรเพศผู้ติดกับผนังกลีบดอก ก้านชูอับเรณูติดกับโคนกลีบดอก อับเรณูยาวรี ยาวประมาณ 2 มม. รังไข่มีก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน ยาว 8-12 มม. ผลทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. มีเมล็ด 8-10 เมล็ด ๆ แบน มีปีก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มม.
ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วนของต้นให้น้ำยางที่เป็นพิษ โดยจะพบ alkaloid ที่เป็นพิษมาก ได้แก่ Gelsemine, Gelsemicine, Koumine, Kouminine, Kouminicine, Kumatenidine alkaloids ที่เป็นพิษดังกล่าว เมื่อกินเข้าไป จะทำให้เกิดการหลั่งน้ำลายมาก, สมองมึนงง, ความรู้สึกสับสน, กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง, สั่น, ชัก และถ้ามีอาการหนักก็ทำให้หยุดหายใจได้ ในทางยาเรานำมารักษาโรคเนื้องอกในโพรงจมูก และเนื้องอกที่ผิวหนังบางชนิด ในขนาดต่ำ ๆ ใช้เป็นยาลดไข้ ยาชงจากใบมะลินรกเพียงสามใบใช้เป็นยาสั่ง (ตาย) ได้

      
                     45.แสลงใจ 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Strychnos nux-vomica L.
วงศ์ : Strychnaceae
ชื่อสามัญ : Nux-vomica Tree, Snake Wood
ชื่ออื่น : กระจี้ กะกลิ้ง ตูมกาแดง แสลงทม แสลงเบื่อ แสลงเบือ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5 - 8 ซม. ยาว 7 - 12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลสด รูปกลม เมล็ดกลมแบนคล้ายกระดุม สีเขียวแกมเทา มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่มปกคลุม
ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด ดอก
สารพิษ : เมล็ดแก่แห้ง พบว่ามีแอลคาลอยด์ strychnine และ brucine ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีความเป็นพิษสูง
การเกิดพิษ : strychnine มีพิษมากประมาณ 60-90 มก. ก็ทำให้คนตายได้ มีพิษต่อระบบส่วนกลาง เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารและลำไส้ หลังจากนั้นประมาณ 1 ชม. คนไข้จะชักแขนขาเกร็งและหยุดหายใจในที่สุด

       
                        46.เลี่ยน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Melia toozendan Siebold et Zucc.
วงศ์ : Meliaceae
ชื่อสามัญ : Bustard Cedar, Persian Lilac, Bead Tree, China Tree, China Ball, Pride of India, Indian Lilac, China Berry
ชื่ออื่น : เฮี่ยน (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ 12-16 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยหยักเป็นฟันเลื่อย ดอก ช่อ เกิดที่ซอกใบ มี 2 ชนิด คือต้นดอกสีม่วงและต้นดอกสีขาว (Melia toozendan Siebold et Zucc.) ตามธรรมชาติช่อดอกสีขาวพบน้อยมาก ดอกขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วงแก่หรือสีขาว ผล เป็นผลสด รูปร่างกลม เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ มีจุดสีขาวนวลรอบๆ ต้น แก่จัดจะแตกเป็นร่องตามยาว
ส่วนที่เป็นพิษ : ดอก ผล เปลือก ต้น
สารพิษ : ผล มีอัลคาลอยด์ azaridine
การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเข้าไปมากจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียรุนแรง อาจเป็นลม กระหายน้ำอย่างรุนแรง ความจำสับสน หายใจลำบาก ชักและเป็นอัมพาต อาจง่วงหลับ มีรายงานว่า เด็กรับประทานผลเลี่ยน 6-8 ผล ถึงแก่ความตาย

      
                      47.ลำโพง 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Datura alba Nees
วงศ์ : Solanaceae
ชื่อสามัญ : Jimson Weed, Devil's Apple, Thorn Apple, Stinkweed, Mad Apple, Devil's Weed, Malpitte, Moonflower, Witch's Thimble
ชื่ออื่น : ลำโพงขาว, มะเขือบ้า, มะเขือบ้าดอกดำ, ลำโพงกาสลัก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเมื่อโตเต็มที่มีขนาดความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลักษณะลำต้น ใบ คล้ายต้นมะเขือพวง ลำต้น กิ่ง ก้าน ก้านใบมีสีเขียว ใบสีเขียวอมเหลืองอ่อนเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ ดอกเป็นชนิดดอกเดี่ยว ดอกจะออกตรงบริเวณโคนก้านใบกับแขนงของกิ่ง เมื่อดอกโตเต็มที่จะบานออกมีรูปร่างคล้ายแตร หรือเครื่องลำโพงขยายเสียง ดอกมีขนาดยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร สีนวลชั้นเดียว
ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วนของต้น
สารพิษ : ทุกส่วนของลำต้น ใบ ดอก ผลของลำโพง มีคุณสมบัติ เป็นพิษทั้งสิ้น เช่น ลำโพงที่มีชื่อว่า Datura stramonium มีอัลคาลอยด์ (alkaloid) หลายชนิดรวมกันประมาณ 0.7 % ได้แก่ hyoscyamine, atropine, belladonine และ scopolamine สารพิษในต้นลำโพงไม่สามารถทำลาย ด้วยความ ร้อน ผลลำโพงเมื่อแก่เต็มที่จะแตกออก จะมองเห็น เป็นกระเปาะราว 4 กระเปาะ ภายในจะมีเมล็ดสีน้ำตาลอมส้มหรือ สีเทาดำ ประมาณ 50-100 เมล็ด เมล็ดลำโพงมีพิษสูงมาก เมล็ดลำโพง 10 เมล็ดจะมีปริมาณของ atropine 1 มิลลิกรัม

      
                        48.ยาสูบ 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nicotiana tabacum L.
วงศ์ : Solanaceae
ชื่อสามัญ : Tobacco
ชื่ออื่น : จะวั้ว (เขมร-สุรินทร์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว มีลำต้นตั้งตรง สูง 0.7-1.50 ม. ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ใบมีลักษณะหยาบ รูปไข่แกมรี ถึงรูปยาวรี หรือรูปไข่กลับ ขนาดยาว 10-35 ซม. กว้าง 12-18 ซม. โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม หรือมน ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ปลายต้น กลีบเลี้ยงมีสีเขียวรูปถ้วยเชื่อมติดกันที่โคนกลีบ รูปไข่ หรือรูปหลอด ยาว 1-1.5 ซม. ส่วนปลายจักเป็น 5 แฉก กลีบดอกมีสีขาว ชมพู ม่วงอ่อน ฯลฯ รูปทรงยาวรี หรือทรงกรวย ยาวประมาณ 5 ซม. เกสรเพศผู้มีจำนวน 5 อัน ติดอยู่ภายในหลอดกลีบดอก รังไข่มี 2 ช่อง ผลเป็นชนิดแห้งแล้วแตก รูปไข่ ยาว 1.5-2 ซม. มีเมล็ดเล็ก ๆ ภายในจำนวนมาก
ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ
สารพิษ : ใบยาสูบเป็นแหล่ง alkaloids หลายชนิด โดยเฉพาะ Nicotine (พบครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1828) และ Nor-nicotine, Nicoteine, Nicotelline, Nicotinine, Anabasine และสารอื่น ๆ อีก
การเกิดพิษ : จัดเป็นสารเสพติดที่ติดง่ายยิ่งกว่าอัลกอฮอล์ จัดเป็นสารสงบประสาท, ระงับความอยากอาหาร, เพิ่มน้ำตาลในโลหิตเล็กน้อย ทำให้ประสาทเกี่ยวกับการรับรสเสียไป ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด และอันตรายต่อร่างกายนานาประการ ถ้าทำการสกัด Nicotine ออกมาจากซิการ์เพียงมวนเดียว แล้วฉีดเข้าเส้นเลือดในคน จะมีพิษถึงขนาดทำให้ตายได้

      
                           49.ฝิ่น

ชื่อวิทยาศาสตร์: Papaver somniferum L.
วงศ์ : Papaveraceae
ชื่อสามัญ : Opium Poppy
ส่วนที่เป็นพิษ : ยาง ยางของผลฝิ่นที่ถูกกรีดจะมีสีขาว เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง กลายเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียวและรสขม เรียนว่า ฝิ่นดิบ ส่วนฝิ่นที่มีการนำมาใช้เสพ เรียกว่า ฝิ่นสุก ได้มาจากนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี่ยวจนสุก
สารพิษ : Morphine และ อัลคาลอยด์ของฝิ่น (สารเสพติด)
การเกิดพิษ : ในขณะที่ผู้เสพตกอยู่ใต้อิทธิพลของยาเสพติดจะมีอาการง่วงนอน เซื่องซึม ชีพจรเต้นช้า ไม่รู้สึกหิว ไม่พูดมาก และไม่สนใจกับสิ่งต่างๆรอบตัว อาจจะนั่งเหม่อมองออกไปโดยไม่มีจุดหมาย นัยน์ตาอาจเปลี่ยนสีและขนาดของม่านตาอาจจะเล็กลงเท่าขนาดรูเข็ม เมื่อเริ่มมีความต้องการยาครั้งต่อไปและมีอาการของการขาดยาเสพติดจะมีลักษณะอาการเริ่มต้น คือ น้ำตา น้ำมูกไหล ปวดหัว เกิดอาการคัน หาวนอน ขนลุก สะบัดร้อนสะบัดหนาว ม่านตาขยาย ผู้ติดยาเสพติดจะหงุดหงิด กระวนกระวาย ตื่นตกใจ อาการขั้นรุนแรงขึ้น คือ นอนไม่หลับ เหงื่อออก ปวดเมื่อยตามแขนขา คลื่นเหียนอาเจียน มีอาการท้องร่วง
การรักษา : ตามอาการ และงดเสพโดยเด็ดขาด 

       
                        50.ขี้กาแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnopetalum integrifolim Kurz. 

ชื่ออื่น แตงโมป่า มะกาดิน ขี้กาขาว เป็นไม้เถาเลื้อย ลำเถาอวบน้ำและสากมีขนสีขาวสั้นตั้งตรงเกาะติดหนาแน่น 

ลักษณะ : ใบ เป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียนและมีหนวดที่โคนก้านใบ ใบรูปไข่เกือบกลม 5 เหลี่ยม ขนาดประมาณ 10 x 15 เซนติเมตร ปลายแหลมโคนเว้าเป็นติ่งหู ขอบหยักบิดเป็นคลื่น แผ่นใบผิวหยาบสากเป็นลอนตามรอยกดเป็นร่องของเส้นใบ หลังใบมีขนสั้นสีขาวจำนวนมาก ก้านใบสีเขียวอ่อนแกมเหลืองยาว มีขนชนิดเดียวกัน 

ดอก เป็นดอกเดี่ยวแยกเพศกัน เกิดที่ซอกใบ ดอกสีขาวกลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 4 - 5 กลีบ ดอกเพศเมียที่ฐานดอกมีรังไข่ทรงกลม ดอกเพศผู้ไม่มี 

ผล ทรงกลมโตเท่าผลส้มเขียวหวาน ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว มีริ้วสีขาวจางๆ ผลสุกนั้นจะมีสีแดงห้อนเป็นระย้า ผลสุกใช้ตากแห้งจะแข็งและหนา ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
 
เมล็ด ทรงกลมรีแบนมีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นเมือกใสสีเขียวเข้มเกือบดำ เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีเขียวเข้ม เมล็ดมีพิษเพียวแค่ 2-3 เมล็ด ก็สามารถทำให้คนถ้าหากกินถึงตายได้ในเวลาเพียงเล็กน้อ 
 
       
 
         52.เดลฟินเนียม
 
อาณาจักร: พืช 
 
ดิวิชั่น: พืชดอก 

ชั้น: Magnoliopsida 

อันดับ: Ranunculales 

วงศ์: วงศ์พวงแก้วกุดั่น 

สกุล: Delphinium คาโรลัส ลินเนียส เดลฟินเนียม (อังกฤษ: Delphinium) เป็นสกุลพืชที่มีด้วยกันราว 300 สปีชีส์ ที่เป็นพืชโตชั่วฤดูยืนต้นประเภทพืชดอกในวงศ์พวงแก้วกุดั่น เป็นพืชที่มีถิ่นฐานทางซีกโลกตอนเหนือ
(Northern Hemisphere) และบนที่สูงในบริเวณเขตร้อนในแอฟริกา ชื่อสามัญ “ลาร์คเสปอร์” ใช้ร่วมกับสกุล Consolida ที่ใกล้เคียงกัน ทรงใบเป็นรูปใบปาล์มเป็นอุ้งเป็นสามถึงเจ็ดแฉก กิ่งดอกชลูดขึ้นไป ขนาดของแต่ละสปีชีส์ก็ต่างกันออกไปที่สูงตั้งแต่ 10 เซนติเมตรไปจนถึงสองเมตร แต่ละก้านก็จะมีดอกรอบกระจายออกไปรอบก้าน สีก็มีตั้งแต่สี่ม่วง, น้ำเงิน, ฟ้า ไปจนถึงแดง เหลือง และขาว แต่ละดอกมีคล้ายกลีบนอกห้ากลีบแต่ติดกันตลอดเหมือนถุงที่มีจงอยตรงปลาย ภายในกลีบนอกก็จะมีกลีบในสี่กลีบ เมล็ดมีขนาดเล็กและมักจะเป็นสีดำเป็นมัน ดอกบานตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงปลายฤดูร้อน ผสมพันธุ์โดยผีเสื้อและผึ้ง สปีชีส์ส่วนใหญ่เป็นพิษ 
      
 
            53.ตีนเป็ดทราย

ตีนเป็ดทราย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cerbera manghas)
 
เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Apocynaceae ยางสีขาว รากแผ่กว้างเพื่อยึดกับทราย ใบยาวรี ค่อนข้างหนา ผิวเคลือบใบหนา ดอกสีขาว ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีแดง มีพิษ รับประทานไม่ได้ ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง 

ชื่อสามัญของพืชนี้ในแต่ละถิ่นจะต่างกันไป ภาษาอังกฤษเรียก Sea mango (ตรงตัว: มะม่วงทะเล) ในมาดากัสการ์เรียก Tanguin Samanta Tangena ในซามัว เรียก Leva ในตองกาเรียก Toto ในฟิจิเรียก Vasa ส่วนในภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาซุนดา เรียก Bintaro 

ความเป็นพิษ ใบและผลมีสารที่เป็นพิษต่อหัวใจ คือ cerberin ซึ่งจะเป็นพิษมากเมื่อถูกย่อย ในอดีตเคยใช้ยางของพืชชนิดนี้เป็นยาพิษเพื่อล่าสัตว์ เนื่องจากพืชในสกุลนี้เป็นพิษ ชื่อสกุลจึงมาจาก Cerberus สุนัขในนรกของเทพนิยายกรีก ในมาดากัสการ์ ใช้เมล็ดของพืชชนิดนี้เป็นยาพิษ
  
     
 
             54.ตีนเป็ดน้ำ
 
ตีนเป็ดน้ำ หรือ ตีนเป็ดทะเล (อังกฤษ: Suicide tree, Pong-pong, Othalanga;
 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cerbera odollam) มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า ตุม (กาญจนบุรี), พะเนียงน้ำ หรือ สั่งลา (กระบี่), มะตะกอ (มลายู-นราธิวาส)[1]เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กชนิดหนึ่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มีลักษณะเป็นทรงพุ่มกลม ใบแน่น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีน้ำยางสีขาว กลีบดอกมีความสวยงาม มีสีขาว เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ดี ต้องการแดดและความชื้นสูง สูงเต็มที่ประมาณ 12 เมตร มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนใต้ของจีน พบจนถึงนิวแคลิโดเนีย มักขึ้นในป่าชายเลนหรือบริเวณที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณชายทะเล
 
ตีนเป็ดน้ำมีผลทรงกลม คล้ายผลส้ม มีสีเขียว แต่ทว่ามีพิษ รับประทานมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ อีกทั้งยางก็มีพิษ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการทำเป็นสารเคมีฆ่าเหาได้ 
    
       
 
          55.ถุงมือจิ้งจอก
 
จิทาลลิส หรือ ถุงมือจิ้งจอก (อังกฤษ: Digitalis) เป็นสกุลของไม้ 20 สปีชีส์ของสมุนไพรที่เป็นพืชสองปี (Perennial plant) ที่เรียกเป็นภาษาพื้นบ้านว่า “foxgloves” หรือ “ถุงมือจิ้งจอก”
 
เดิมจัดอยู่ในวงศ์มณเฑียรทอง (Scrophulariaceae) แต่หลังจากการพิจารณาทางphylogenetic ก็ได้รับการจัดให้อยู่ในตระกูลที่ใหญ่กว่าในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (Plantaginaceae) ถุงมือจิ้งจอกเป็นไม้ที่มีถิ่นฐานอยู่ในยุโรป, เอเชียตะวันตก และ เอเชียกลาง, และทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา ชื่อวิทยาศาสตร์แปลว่า “เหมือนนิ้ว” เพราะขนาดของดอกพอดีกับการที่เอาปลายนิ้วสอดเข้าไปได้พอดี ดอกออกบนกิ่งเรียวยาวชลูดขึ้นไปจากกอที่ติดดิน ตัวดอกมีลักษณะเป็นหลอดสั้นๆ สีก็มีต่างๆ ที่รวมทั้งม่วง ชมพู ขาว และ เหลือง ชนิดที่พบบ่อยเรียกว่า “Digitalis purpurea” 
 
“ถุงมือจิ้งจอก” นอกจากจะเป็นไม้ที่ขึ้นง่ายโดยทั่วไปเป็นดอกไม้ป่าแล้วก็ยังเป็นไม้บ้านเป็นพืชสองปีที่ มักปลูกเป็นไม้ประดับเพราะดอกที่มีความเด่นที่มีสีและแต้มด้านในของดอกต่างๆ ปีแรกที่ปลูกจะมีเพียงแต่ใบ ปีที่สองจึงออกดอก ความสูงของก้านประมาณระหว่าง 0.5 ถึง 2.5 เมตร คำว่า “ดิจิทาลลิส” ยังหมายถึงสาร Digoxin ที่สกัดจากไม้ที่ใช้ในการทำ Cardiac glycoside สำหรับการรักษาโรคหัวใจ แต่ “ถุงมือจิ้งจอก” บางพันธุ์ก็เป็นไม้มีพิษร้ายแรงทั้งต้นทั้งดอกที่ทำให้ได้สมญาว่า “กระดิ่งคนตาย” หรือ “ถุงมือแม่มด” 
 
       
 
          56.ทุเรียนเทศ
 
ทุเรียนเทศ หรือ ทุเรียนน้ำ (อังกฤษ: Soursop,Prickly Custard Apple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Annona muricata L.)
 
ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ทุเรียนแขก (ภาคกลาง) หมากเขียบหลด (ภาคอีสาน) และ มะทุเรียน (ภาคเหนือ) เป็นพืชในวงศ์เดียวกับน้อยหน่าและกระดังงา ใบเดี่ยว กลีบดอกแข็ง มีกลิ่นหอมตอนเช้า ผลมีรูปร่างคล้ายทุเรียน มีหนาม เปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดแกสีดำ ปลูกมากในแถบอเมริกากลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพืชที่ชอบที่ที่มีความชื้นสูง 
 
การใช้ประโยชน์ ทุเรียนเทศใช้กินเป็นผลไม้สด และนำมาแปรรูปเป็นผลไม้กวน เยลลี่ ไอศกรีมและซอส ในมาเลเซียนำไปทำน้ำผลไม้กระป๋อง เวียดนามนิยมทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น เมล็ดมีพิษ ใช้ทำยาเบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลง 
 
ความเสี่ยง มีงานวิจัยในแถบทะเลแคริบเบียนที่แสดงให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานทุเรียนเทศกับโรคพาร์คินสัน ทุเรียนเทศมีannonacinซึ่งเป็นสาเหตุของโรคนี้สูงทุเรียนเทศยังเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ในยาที่ขายในตลาดในชื่อ Triamazon. Triamazon นี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นยาในอังกฤษ 
 
     
 
             57.บานเย็น 

บานเย็น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mirabilis jalapaL.; ชื่อสามัญ: Four-o’clocks; Marvel of Peru) เป็นไม้ดอกในสกุล Mirabilis ที่นิยมปลูกมากที่สุด มีสีดอกที่หลากหลาย กล่าวกันว่าบานเย็นถูกนำออกมาจากถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาแอนดิส ในเปรู ช่วงปี ค.ศ. 1540 คำว่า Mirabilis ในภาษาละตินหมายถึง ยอดเยี่ยม, สวยงาม, มหัศจรรย์ ส่วนคำว่า Jalapa เป็นชื่อเมืองแห่งหนึ่งในประเทศเม็กซิโก ความน่าสนใจของบานเย็นคือ เป็นไม้ดอกที่สามารถมีดอกหลายสีอยู่บนต้นเดียวกันพร้อมๆ กันได้ นอกจากนี้ในแต่ละดอกอาจมีหลายสีปนกันอยู่ได้เช่นกัน จุดสนใจอีกประการหนึ่งคือการที่สีดอกจะเปลี่ยนไปเมื่อต้นบานเย็นมีอายุมาก ขึ้น เช่น บานเย็นพันธุ์ดอกเหลือง สีของดอกอาจค่อยๆ เปลี่ยนเป็นชมพูเข้ม หรือ พันธุ์ดอกขาวอาจจะเปลี่ยนเป็นม่วงอ่อนได้ 
          
ดอกบานเย็นจะบานในช่วงเวลาบ่ายแก่ๆ เป็นต้นไป จึงเป็นที่มาของชื่อไทยว่า "บานเย็น" หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า "ดอกสี่โมง" (four o'clock flower) เมื่อดอกบานจะมีกลิ่นหอมจัดแบบกลิ่นหอมหวานๆในประเทศจีน เรียกบานเย็นว่า "ดอกสายฝน" (shower flower) หรือ "ดอกหุงข้าว" (rice boiling flower) เพราะดอกบานเย็นจะบานในช่วงเวลานั้น ส่วนในฮ่องกง เรียกว่า "มะลิม่วง" (purple jasmine) ส่วนของกลีบดอกที่เห็นเป็นสีต่างๆ นั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่กลีบดอกแท้ แต่เป็นส่วนกลีบเลี้ยง (calyx) ที่เปลี่ยนรูปไปจากปกติและมีเม็ดสี (pigments) การผสมเกสรเกิดโดยแมลงกลางคืนชนิดที่มีลิ้นยาวซึ่งถูกดึงดูดมาหาดอกบานเย็น โดยกลิ่นหอมที่ปล่อยออกมานั่นเอง 
 
         

             58.มะคำดีควาย 
 
มะคำดีควาย (อังกฤษ : Soap Nut Tree ;ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sapindus rarak A.DC.) ชื่อหรือเรียกอีกอย่างว่า ประคำดีควาย เป็นชื่อต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE มีลักษณะของใบประกอบที่เรียงสลับกัน ผลออกเป็นพวงและก็มีลักษณะค่อนข้างกลม มะคำดีควายนี้เป็นพืชที่มีคุณค่าทางสมุนไพรมากแต่มีผลที่เป็นพิษ 
 
       
              59.ลำโพงกาสลัก 
 
ลำโพงกาสลัก เป็นพืชล้มลุก ประเภทเดียวกับมะเขือ ชื่อพื้นเมืองเช่น มะเขือบ้าดอกดำ เมื่อโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้น กิ่ง และก้านใบมีสีม่วงเข้มดำมัน 
* ชื่อวิทยาศาสตร์: Datura fastuosa L. 
* ชื่อสามัญ: Thorn Apple 
* ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ สีเขียวเข้ม เรียงสลับกัน กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันหยาบๆ ฐานหรือโคนใบมักไม่เสมอกัน 
* ดอก: มีสีม่วง ขนาดของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น เมื่อดอกโตเต็มที่ปากดอกจะบานออกดูคล้ายรูปแตร ขนาดของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น ดอกมักจะซ้อนกัน 3 ชั้น เป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นพันธุ์ผสม ดอกจะซ้อนกัน 2 และ 4 ชั้น 
 
        
                   60.ปรงสาคู 

ปรงสาคู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cycas revoluta) เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น ชื่อสามัญได้แก่ sago cycad บางครั้งเรียก king sago palm หรือ sago palm แต่เป็นพืชในกลุ่มของปรง ไม่ใช่ปาล์ม พืชชนิดนี้มีพิษในทุกส่วนของพืช แต่สามารถสกัดแป้งไปทำสาคูได้ โดยตัดกิ่ง รากและเมล็ด นำไปบดจนได้แป้ง แล้วล้างอย่างระมัดระวังหลายๆครั้งเพื่อล้างสารพิษออก แป้งที่เหลือนำมาทำให้แห้งและทำให้สุกด้วยกระบวนการเดียวกับการทำแป้งสาคู จากปาล์ม 
          
ความเป็นพิษ ปรงสาคูเป็นพิษต่อสัตว์มาก รวมทั้งมนุษย์ถ้าถูกย่อย อาการทางคลินิกจะเกิดขึ้นภายใน 12 ชั่วโมงหลังการย่อยได้แก่อาเจียน ท้องร่วง อ่อนเพลีย เป็นลม การทำงานของตับล้มเหลว ทุกส่วนของพืชเป็นพิษ โดยในเมล็ดมีสารพิษที่เรียก cycasinในระดับสูง สารพิษนี้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ถ้าได้รับในระดับที่มากพอ จะทำให้ตับทำงานล้มเหลว [4] สารพิษตัวอื่นๆ ได้แก่ Beta-methylamino L-alanine ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาท และสารพิษที่ยังจำแนกไม่ได้อีกมากที่ทำให้เกิดอัมพาตในวัวควาย which has been observed to cause hindlimb paralysis in cattle. 
 
 
 
 
ขอบคุณ  :  https://sites.google.com 
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์