7 อุโมงค์เส้นทางรถไฟไทย..อยู่ที่ใดบ้าง



ในการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟนั้นต้องมีการหาแนวทางที่ดีที่สุด และประหยัดที่สุด ถ้าพื้นที่ใดเป็นบริเวณภูเขาก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยง ทั้งนี้เพราะการสร้างทางผ่านภูเขานั้นทำลำบาก และค่าก่อสร้างก็สูงกว่าการสร้างทางในทางราบมาก เว้นไว้แต่มีความจำเป็น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในบางกรณี ก็ใช้วิธีเจาะเป็นช่องเข้าไปในภูเขา เพื่อให้ขบวนรถลอด ผ่านภูเขาไปสู่จุดหมายปลายทางได้ ช่องทางรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นโดยให้ลอดไปใต้ภูเขานี้ เรียกว่าอุโมงค์ (Tunnel) ในปัจจุบันมีอุโมงค์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นทางรถยนต์และทางรถไฟหลายแห่ง ในต่างประเทศมีการสร้างอุโมงค์ลอดลงไปใต้ดิน บางแห่งก็สร้างอุโมงค์จากเกาะหนึ่งลอดลงไปใต้ทะเล แล้วไปโผล่ขึ้นที่อีกเกาะหนึ่ง สำหรับทางรถไฟทุกสายในประเทศไทย มีอุโมงค์อยู่ทั้งสิ้นรวม 7 แห่ง ล้วนแต่เป็นอุโมงค์ลอดภูเขาทั้งสิ้น คือ
                                                                                    
                                          รู้ไหมว่า ประเทศไทยมี อุโมงค์รถไฟ ชื่อ อะไร บ้าง
เส้นทางสายเหนือ
 
1. อุโมงค์ปางตูมขอบ

ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.บ้านด่านนาขาม อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ริเวณ กม.513+721.55 ถึงกม.513+841.64 ระหว่าง สถานีปางต้นผึ้ง (กม.509.36) - สถานีห้วยไร่ (กม.517.02) ตัวอุโมงค์มีความยาว 120.09 เมตร ภายในเป็นผนังอิฐก่อ ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของ ตอน นตท.ปางต้นผึ้ง, แขวง สบท.เด่นชัย, เขต วบข.ลำปาง
                                          รู้ไหมว่า ประเทศไทยมี อุโมงค์รถไฟ ชื่อ อะไร บ้าง 
2. อุโมงค์เขาพลึง

ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ห้วยไร่  อ.เด่นชัย จ.แพร่
บริเวณ กม.516+410.66 ถึงกม.516+773.10 ระหว่าง สถานีปางต้นผึ้ง (กม.509.36) - สถานีห้วยไร่ (กม.517.02) ตัวอุโมงค์มีความยาว 362.44 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต แต่จะมีบางส่วนเป็นหินล้วนๆ  ไม่ได้ดาดคอนกรีตตลอดอุโมงค์ ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของ ตอน นตท.ปางต้นผึ้ง, แขวง สบท.เด่นชัย, เขต วบข.ลำปาง
                                          รู้ไหมว่า ประเทศไทยมี อุโมงค์รถไฟ ชื่อ อะไร บ้าง 
3. อุโมงค์ห้วยแม่ลาน

ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.ลอง จ.แพร่
บริเวณ กม.574+048.00 ถึง กม.574+178.20 ระหว่างสถานีบ้านปิน (กม.563.86) - สถานีผาคัน (กม.578.46) ตัวอุโมงค์มีความยาว130.20 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของ ตอน นตท.ผาคัน, แขวง สบท.เด่นชัย, เขต วบข.ลำปาง
 
                                          รู้ไหมว่า ประเทศไทยมี อุโมงค์รถไฟ ชื่อ อะไร บ้าง 
4. อุโมงค์ขุนตาน

ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
บริเวณ กม.681+578.70 ถึง กม.682+940.80ระหว่าง สถานีแม่ตานน้อย (กม.671.80) - สถานีขุนตาน (กม.683.14) โดยอยู่ห่างจากสถานีขุนตานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตัวอุโมงค์มีความยาว 1,362.10 เมตร (หากไม่รวมปากทางทั้งสองด้านจะมีความยาว 1,352.15 เมตร) ภายในเป็นผนังคอนกรีต, ใช้หมอนไม้เนื้อแข็ง (เดิมเป็นหมอนคอนกรีต), ใช้รางเชื่อมยาว แบบ 70 อาร์. (12.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของตอน นตท.ขุนตาน, แขวง สบท.ลำพูน, เขต วบข.ลำปาง ถือเป็นอุโมงค์รถไฟที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย
                                            รู้ไหมว่า ประเทศไทยมี อุโมงค์รถไฟ ชื่อ อะไร บ้าง 
เส้นทางสายใต้
 
5. อุโมงค์ช่องเขา
 
ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ช่องเขา  อ.ร่อนพิบูลย์  จ.นครศรีธรรมราช
บริเวณกม.769+822.30 ถึง กม.770+058.20 ระหว่าง สถานีช่องเขา (กม.767.78) - สถานีร่อนพิบูลย์ (กม.776.33) ตัวอุโมงค์มีความยาว 235.90 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 เอ (18.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของ ตอน นตท.ร่อนพิบูลย์, แขวง สบท.เขาชุมทอง, เขต วบข.ทุ่งสง และเป็นอุโมงเดียว ของเส้นทางสายใต้
                                           รู้ไหมว่า ประเทศไทยมี อุโมงค์รถไฟ ชื่อ อะไร บ้าง 
เส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)
 
6. อุโมงค์เขาพังเหย

ตั้งอยู่บริเวณ กม.248+800.40 ถึง กม.249+031.00 ระหว่าง สถานีโคกคลี (กม.240.87) - สถานีช่องสำราญ (กม.250.64) ตัวอุโมงค์มีความยาว 230.60 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 เอ (18.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของ ตอน นตท.โคกคลี แขวง สบท.ลำนารายณ์ เขต วบข.แก่งคอยเป็นอุโมงเดียวของเส้นทางสายอีสาน
                                            รู้ไหมว่า ประเทศไทยมี อุโมงค์รถไฟ ชื่อ อะไร บ้าง 
เส้นทางสายคลองสิบเก้า - แก่งคอย
 
7. อุโมงค์พระพุทธฉาย

ตั้งอยู่บริเวณ กม.147+102.046 ถึง กม.148+299.046 ระหว่าง สถานีวิหารแดง (กม.138.40) - สถานีบุใหญ่ (กม.179.00) ในเขต จ.สระบุรี ตัวอุโมงค์มีความยาว1,197 เมตร กว้าง 5 เมตร สูง 5.5 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต ใช้หมอนคอนกรีต และรางเชื่อม 100 ปอนด์ อยู่ในความรับผิดชอบของตอน นตท.วิหารแดง แขวง สบท.แก่งคอย เขต วบข. ฉะเชิงเทรา อุโมงค์พระพุทธฉายเป็นอุโมงค์รถไฟที่มีความยาวเป็นอันดับสอง รองจากอุโมงค์ขุนตานเท่านั้น ออกแบบโดยบริษัท Transystem ประเทศ Italy ราคาค่าก่อสร้าง 127.5 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2536 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2537 และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2538  และเป็นอุโมงเดียวของเส้นทางสายตะวันออก
 

ขอบคุณ  :  http://atcloud.com/stories/59423
  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

ต่อหัวเสือ...ไม่ร้ายอย่างเสือ