โรคกระดูกพรุน หญิงหรือชายก็เป็นได้

 

                                   

โรคกระดูกพรุน หมายถึง ภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูก ผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง ความหนาแน่นของกระดูกต่ำ เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะ กระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลังและกระดูก ข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำ  ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายและสามารถป้องกันได้ 9 ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน
1. ผู้หญิงหรือชายหากมีฮอร์โมนต่ำก็เกิดกระดูกบางได้
2. การกินอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน เช่น กินอาหารที่มีโปรตีนสูง (เนื้อสัตว์) หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง (รสเค็ม) แต่กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อย ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน

                                  

3. กรรมพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
4. เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคขาดวิตามินดี โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคมะเร็งบางชนิด
5. ได้รับยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยา สเตียรอยด์ ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมักใช้ในโรคความดันโลหิตสูง
6. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
7. ภาวะเครียด
8. การขาดแสงแดดซึ่งจะทำให้ได้รับวิตามินดีน้อยมีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง
ปัจจุบันแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนก่อนที่จะเกิดอาการโดยการตรวจความเข้ม หรือความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density หรือ BMD) การตรวจนี้ใช้แสงเอกซเรย์ปริมาณน้อยมากส่องตามจุดที่ต้องการแล้วใช้คอมพิวเตอร์คำนวณหาความหนาแน่นของกระดูกเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐาน
                                  

การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน

1. การออกกำลังกายที่จะทำให้กระดูกแข็งแรงคือ การออกกำลังชนิด Weight Bearing Exercise คือใช้น้ำหนักตัวเองช่วยในการออกกำลังกาย เช่น การเดิน การวิ่ง  การเดินขึ้นบันได กระโดดเชือก  ยกน้ำหนัก การเต้นรำ การรำ มวยจีน  ลองเริ่มต้นการออก กำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5วันซึ่งนอกจากจะทำให้กระดูกแข็งแรง ยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและการทรงตัวดี ป้องกันการ หกล้มได้

2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเพียงพอ

                                      

3. ควรได้รับแสงแดดอ่อนๆ อย่างเพียงพอ เพื่อให้ผิวหนังสร้างวิตามินดี ในวันหนึ่งควรได้วิตามินดี 400-800 IU โดยให้ถูกแสงแดดบริเวณมือ แขน ใบหน้าครั้งละ 10-15 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ก็เพียงพอที่จะสร้างวิตามินดี การทาครีมกันแดดจะลดการสร้างวิตามินดี

4. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

5. การใช้ยาในการป้องกันและรักษา จะ แตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆ ในผู้ป่วยแต่ละราย  เช่น อายุ เพศ ระยะเวลา หลังหมดประจำเดือน เป็นต้น



ขอบคุณ : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก และ http://www.thaihealth.or.th

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์