ช่วย สาสุข : ครูใหญ่โรงเรียนชาวนา ต.หินกอง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
อาชีพการทำนาข้าว นับเป็นอาชีพหลักของคนไทยที่มีการสืบทอดองค์ความรู้มาจากบรรพบุรุษแต่โบราณ จวบจนถึงยุคปัจจุบันอาชีพการทำนาข้าวได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิด เป้าหมาย รูปแบบ และกระบวนการผลิตไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด เกษตรกรผู้ทำนา หรือชาวนา อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ กลุ่มที่มีที่ดินเป็นของตนเอง และกลุ่มที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง (กลุ่มที่ 2 ในสายตาของผู้เขียนเองถือว่าเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้ ส่วนใหญ่ค่อนข้างยากจน และยังเป็นโจทย์ปัญหาที่ทุกรัฐบาลต้องแก้ไขอยู่เสมอ)
สำหรับครั้งนี้ผมต้องการนำเสนอผลความสำเร็จของชาวนากลุ่มที่มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งชาวนากลุ่มดังกล่าวน่าจะเป็นชาวนาที่สามารถผลิตข้าวคุณภาพดีสู่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ใช่ละครับเพราะกลุ่มชาวนาที่ว่านี้ คือ กลุ่มชาวนาแนวคิด เป้าหมาย รูปแบบและกระบวนการผลิตที่เน้นความปลอดภัยทั้งตัวชาวนาเอง และผู้บริโภค ควบคู่กันไป เราจะรู้จักพวกเขาในนามการทำนาอินทรีย์ หรือกลุ่มเกษตรกรข้าวอินทรีย์
การผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอใจ
การผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอใจ
ตัวอย่างเกษตรกร ที่พลิกชีวิตจากการทำนาเคมี.....สู่การทำนาอินทรีย์ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ให้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง พึ่งพาตนเองด้วยการจัดระบบการปลูกข้าวด้วยตนเองตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ข้าว การปลูก การเก็บเกี่ยว ดูแลรักษาแปลงนา ไปจนถึงการแปรรูปและจำหน่ายด้วยตนเองทั้งหมด สร้างความมั่นคงในอาชีพ จนได้รับการคัดเลือกให้เป็น เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2556 เขาผู้นี้คือ นายช่วย สาสุข ชาวนาแห่งทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
นายช่วย สาสุข (คนที่ 2 จากขวามือ) เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2556
นายช่วย สาสุข เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2556
นายช่วย สาสุข (คนที่ 2 จากขวามือ) เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2556
ในช่วงวัยหนุ่ม นายช่วยมาขายแรงงานในเมืองหลวงด้วยการรับจ้างทำอิฐบล็อก เพราะจบแค่ ป.4 แต่อาศัยความขยันจึงสร้างตัวได้ กระทั่งฟองสบู่แตกในปี 2540 เขาจึงกลับบ้านเกิดพร้อมเงินเก็บ 8 แสนบาทกับรถยนต์ 2 คัน ไปทำนาที่เคยซื้อไว้ 30 ไร่ เมื่อปี 2516 ในราคา 3 หมื่นบาท เริ่มต้นทำนาด้วยสารเคมีเหมือนชาวนาทั่วไป กระทั่งปี 2544 มีเครือข่ายเกษตรกรทางเลือกทุ่งกุลา เกิดขึ้นและมีการอบรมให้ความรู้การทำนาอินทรีย์ไม่พึ่งสารเคมี จึงได้เข้ารับการอบรมและเปลี่ยนมาทำนาแบบอินทรีย์ตั้งแต่นั้นมาและต่อมาปี 2545 ซื้อเพิ่มอีก 10 ไร่ และ 12 ไร่ในปีต่อๆ มา ปัจจุบันมี 53 ไร่"แรกๆ ทำนาแบบอินทรีย์ต้องลงทุนสูง เพราะที่นาใช้สารเคมีมาก่อนต้องปรับปรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ถึง 300 กิโลต่อไร่ตกกิโลละ 5 บาทเฉลี่ยไร่ละ 15,000 บาท ปีที่ 2 จะลดลงเหลือ 250 กิโล ปีที่ 3 ลดเหลือ 200 กิโล ลดลงเรื่อยๆ กระทั่งปีที่ 6-7 แทบไม่ต้องใช้เลยเพราะที่ดินได้มีรับการปรับปรุงจนมีสภาพดีแล้ว หรือถ้าใช้ก็ปริมาณน้อยลง ปัจจุบันลงลงทุนไร่ละ 2,000 บาทเท่านั้น เป็นการลดต้นทุนไปเรื่อยๆ และเราก็ทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ข้าวก็เอาสีกินเอง และแปรรูปขายเอง ทำให้ต้นทุนในการผลิตจะต่ำลงไปด้วย ซึ่งเกษตรกรรายย่อยก็สามารถทำได้โดยใช้โรงสีข้าวขนาดเล็กสีข้าวกินเองได้" นายช่วย กล่าว
นายช่วย สาสุข เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2556
ปัจจุบัน นายช่วยคัดพันธุ์ข้าวเก็บไว้ทุกๆ ปีจำนวน 120 สายพันธุ์ และมีพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกอีก อาทิ ข้าว(เหนียว)หอมนางนวล, ข้าวมะลิ 105, ข้าวโสมาลี, ข้าวมะลิดำเม็ดขาว, ข้าวมะลิแดง, ข้าวพันธุกรรมพ่อหลวง, ข้าวมะลิดั้งเดิม และข้าวหินกอง 1 เป็นพันธุ์ผสมระหว่างนางนวลกับสันป่าตอง ซึ่งเกษตรกรที่ต้องการพันธุ์ข้าวสามารถสั่งจองไว้ล่วงหน้า 1 ปี ปัจจุบันเขาทำนาเกษตรอินทรีย์กับลูกสาวและลูกชาย 2 คน เพราะคู่ชีวิตได้จากไปหลายปีแล้ว นายช่วยบอกว่าจะทำนาไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เพราะมีความสุขกับการทำนา
"ผมยึดหลักการพึ่งพาตนเอง พึ่งพาผู้อื่นให้น้อยที่สุด และจะใช้หลักการนี้ในการสอนนักเรียนด้วย การทำนาอินทรีย์ เราไม่พึ่งสารเคมีเลย ปุ๋ยก็ทำขึ้นมาเอง ข้าวอินทรีย์ พอปลูกเสร็จ ก็จะใช้โรงสีข้าวเล็กๆ ที่มีอยู่สีเพื่อรับประทานเอง ส่วนหนึ่งก็แปรรูปขาย มีงานโอท็อป งานเกษตรอินทรีย์ ก็ไปออกร้าน หรือมีคนสั่งซื้อมาก็ไปส่งให้ทางไปรษณีย์ เก็บเงินค่าส่งปลายทาง สั่งมา 1 กิโล 2 กิโล ผมก็ส่ง เหนือ ใต้ ออก ตก ส่งหมด เราทำเองขายเอง ไม่ต้องพึ่งพาจำนำข้าว ปลาก็เลี้ยงไว้กิน เป็ดก็เลี้ยง หมูก็เลี้ยงหมูหลุม สิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นก็ไม่ต้องทิ้งนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ ทุกอย่างที่ปลูกก็ต้องกินได้ แบบนี้เกษตรกรก็อยู่ได้ ใครสนใจแนวทางเกษตรอินทรีย์ก็มาเรียนได้ผมจะสอนให้" ครูใหญ่โรงเรียนชาวนา ต.หินกอง กล่าว
ท้ายสุดนี้ต้องขอยกย่อง เทศบาลตำบลหินกอง ที่มองเห็นความสำคัญของทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าระดับท้องถิ่นร่วมกัน และการใช้โรงเรียนชาวนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทรงพลังสรรสร้างพัฒนาทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ก่อเกิดความงอกงามทั้งด้านปัญญาความรู้ความคิด พึ่งพาตนเองได้ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน นายช่วยคัดพันธุ์ข้าวเก็บไว้ทุกๆ ปีจำนวน 120 สายพันธุ์ และมีพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกอีก อาทิ ข้าว(เหนียว)หอมนางนวล, ข้าวมะลิ 105, ข้าวโสมาลี, ข้าวมะลิดำเม็ดขาว, ข้าวมะลิแดง, ข้าวพันธุกรรมพ่อหลวง, ข้าวมะลิดั้งเดิม และข้าวหินกอง 1 เป็นพันธุ์ผสมระหว่างนางนวลกับสันป่าตอง ซึ่งเกษตรกรที่ต้องการพันธุ์ข้าวสามารถสั่งจองไว้ล่วงหน้า 1 ปี ปัจจุบันเขาทำนาเกษตรอินทรีย์กับลูกสาวและลูกชาย 2 คน เพราะคู่ชีวิตได้จากไปหลายปีแล้ว นายช่วยบอกว่าจะทำนาไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เพราะมีความสุขกับการทำนา
ล่าสุด กฤษณะ แสนสำโรง นายกเทศมนตรีตำบลหินกอง ได้เปิดโครงการ “โรงเรียนชาวนา” ในที่นาสวน ของนายช่วย สาสุข ตั้งอยู่หมู่ 12 ต.หินกอง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด จำนวน 53 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีการทำนาปลูกข้าวแบบดั่งเดิม อีกทั้งเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้พันธุกรรมข้าว โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนลูกหลานเกษตรกร นักเรียน และชาวนาที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้ โดยมี นายช่วย เป็นครูใหญ่โรงเรียนชาวนาที่ตั้งขึ้น พร้อมทั้งเป็นวิทยากรช่วยสอนการทำนาอินทรีย์อีกด้วย
"ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2557 เป็นต้นไป ผมจะนำเด็กตั้งแต่ป.4 โรงเรียนบ้านโพนดวนมีอยู่ 40 คนมาเรียนการทำนาแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีตั้งแต่เริ่มต้นขบวนการ ไปจนถึงการทำนาที่ใช้ต้นทุนต่ำ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้กับการดำรงชีวิตให้กับเยาวชนและเกษตรกรในตำบลหินกอง หันกลับมาใช้วิถีการทำนาแบบดั้งเดิม และสอนการคัดพันธุกรรมข้าว การผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์ การทำน้ำหมักใช้ในครัวเรือนต่างๆ เพื่อให้เด็กๆเหล่านั้นไปโน้มน้าว พ่อ แม่ ให้หันมาทำนาแบบอินทรีย์ ซึ่งเป็นการทำเกษตรที่ยั่งยืน ผลผลิตข้าวได้คุณภาพ อนุรักษ์วิถีการทำนาแบบดั่งเดิมไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้สืบไป"
"ผมยึดหลักการพึ่งพาตนเอง พึ่งพาผู้อื่นให้น้อยที่สุด และจะใช้หลักการนี้ในการสอนนักเรียนด้วย การทำนาอินทรีย์ เราไม่พึ่งสารเคมีเลย ปุ๋ยก็ทำขึ้นมาเอง ข้าวอินทรีย์ พอปลูกเสร็จ ก็จะใช้โรงสีข้าวเล็กๆ ที่มีอยู่สีเพื่อรับประทานเอง ส่วนหนึ่งก็แปรรูปขาย มีงานโอท็อป งานเกษตรอินทรีย์ ก็ไปออกร้าน หรือมีคนสั่งซื้อมาก็ไปส่งให้ทางไปรษณีย์ เก็บเงินค่าส่งปลายทาง สั่งมา 1 กิโล 2 กิโล ผมก็ส่ง เหนือ ใต้ ออก ตก ส่งหมด เราทำเองขายเอง ไม่ต้องพึ่งพาจำนำข้าว ปลาก็เลี้ยงไว้กิน เป็ดก็เลี้ยง หมูก็เลี้ยงหมูหลุม สิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นก็ไม่ต้องทิ้งนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ ทุกอย่างที่ปลูกก็ต้องกินได้ แบบนี้เกษตรกรก็อยู่ได้ ใครสนใจแนวทางเกษตรอินทรีย์ก็มาเรียนได้ผมจะสอนให้" ครูใหญ่โรงเรียนชาวนา ต.หินกอง กล่าว
ท้ายสุดนี้ต้องขอยกย่อง เทศบาลตำบลหินกอง ที่มองเห็นความสำคัญของทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าระดับท้องถิ่นร่วมกัน และการใช้โรงเรียนชาวนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทรงพลังสรรสร้างพัฒนาทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ก่อเกิดความงอกงามทั้งด้านปัญญาความรู้ความคิด พึ่งพาตนเองได้ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
ขอบคุณ : 1) http://www.dailynews.co.th
2) http://www.cnxnews.net3) http://www.brrd.in.th
4) http://www.komchadluek.net
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น