เที่ยววัดวันพ่อ


พระวิหารหลวงและพระปรางค์ประธาน
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร  หรือเรียกกันทั่วไปว่า วัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุเชลียง วัดพระปรางค์  วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง  ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย    สถานะของวัดในปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก  ชนิดราชวรวิหาร   สังกัดมหานิกาย ความพิเศษโบราณสถาน   ผงจากปูชนียสถานนี้ใช้เป็นมวลสารทำพระสมเด็จจิตรลดา
พระวิหารหลวงและพระปรางค์ประธาน
ไม่มีหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่ดูจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว วัดนี้มีอายุตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ คือ ประมาณ 800 ปีมาแล้วเป็นอย่างต่ำ ซึ่งความจริงอาจสามารถกำหนดอายุได้มากกว่านี้เพราะที่ตั้งของวัดมีลักษณะเป็นศูนย์กลางของชุมชนหรือเมืองบริเวณนี้ คือ เมืองเชลียง ซึ่งเป็นเมืองที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับยุคทวารวดี

วัดนี้เป็นวัดสำคัญของเมืองเชลียง ปรากฏหลักฐานแน่ชัดในศิลาจารึกหลักที่ 1 และในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปปราบชุมนุมพระฝางเมืองสวางคบุรีแล้วได้เสด็จสมโภชพระบรมธาตุเมืองเชลียงนี้ด้วย และวัดนี้ยังเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเษก สำหรับพระเจ้าแผ่นดินใหม่ที่จะขึ้นเสวยราชสมบัติมาแต่ครั้งโบราณกาล
พระวิหารหลวงและพระปรางค์ประธาน


ปรางค์ประธานวัดก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ประมาณไว้ที่ พุทธศักราช 2017 ภายในองค์พระปรางค์มีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาคล้ายถูกสร้างครอบทับ น่าจะบรรจุสิ่งของสำคัญสำหรับการบูชาอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า "หัวใจพระพุทธเจ้า" ตามผนังภายใน องค์ปรางค์พบว่ามีร่องรอยเดิมคงมีจิตรกรรมฝาผนัง แต่ลบเลือนไปมากเขียนด้วยสีแดงแบบโบราณ ลายพรรณพฤกษา ส่วนบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นองค์ปรางค์ได้

ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้ มีเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบ และเจาะช่องแสง ฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน มีอายุอยู่ ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้น เนื่องจากขุดค้นพบฐานโบราณคดีก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ฐานพระวิหารหลวง นอกจากนี้ยังพบกระเบื้องเชิงชายรูปนางอัปสรและเทวดา ซึ่งมีลักษณะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบบายน เช่นเดียวกับลายปูนปั้นยอดซุ้มประตูกำแพงวัด ซึ่งทำเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อยู่ด้านบนทั้ง 4 ทิศ ด้านล่างเป็นรูปเทพธิดานั่งในกรอบ ซุ้มด้านล่างเป็นรูปนางอัปสรร่ายรำ ฐานพระวิหารหลวงพ่อโตอยู่ด้านหน้าพระปรางค์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ประทับอยู่ตรงกลางขนาบด้วยพระพุทธรูปขนาดเล็กประทับยืนทั้ง 2 ข้าง ถัดจากพระพุทธรูปปางมาร วิชัยทางด้านขวามีพระพุทธรูปปั้นปางลีลาที่มีลักษณะงดงาม

5  ธันวาคม 2556 ผู้เขียนได้เคยไปเยี่ยมชมความเก่าแก่ และความงดงามทางด้านศิลปกรรมของวัดนี้ จำนวน 3-4ครั้งด้วยกัน  และครั้งนี้ก็ยังอดที่จะพาครอบครัวไปแวะไหว้พระอีกเช่นกัน  สภาพที่ตั้งของวัดจะมีลักษณะพิเศษ  คือ มีสภาพคล้ายเกาะที่เกิดจากการไหลของแม่น้ำยมไหลล้อม 3 ทิศทางด้วยกัน การเดินทางไปวัดของชาวบ้านจึงไปได้โดยทางบก (ถนน :ทางทิศเหนือ) ซึ่งเป็นทางอ้อมไกลหมู่บ้าน ทางการได้แก้ปัญหาด้วยการทำสะพานแขวน (รถยนต์ใช้การไม่ได้) เชื่อมหมู่บ้านทางทิศตะวันออก และทำสะพานเหล็ก (รถยนต์ใช้การไม่ได้) เชื่อมหมู่บ้านทางทิศตะวันตก  ได้เห็นการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของบริเวณวัดพระปรางค์  รวมทั้งการจัดระเบียบสิ่งก่อสร้าง และร้านค้าต่าง ๆ ให้น่าเยี่ยมน่ามองยิ่งขึ้น



ป้ายชื่อวัดทางเข้าทางทิศเหนือ
ซุ้มคำขวัญของอำเภอศรีสัชนาลัย
ซุ้มต่าง ๆ จากการจัดการแข่งขันเรือยาวประเพณีประจำปี (ซ้ายมือคือแม่น้ำยม)

สะพานแขวนข้ามแม่น้ำยมทางทิศตะวันออกของวัด
แม่น้ำยมทางด้านทิศตะวันออกของวัด
ของที่ระลึกต่าง ๆ
ของที่ระลึกต่าง ๆ
ของที่ระลึกต่าง ๆ
ของที่ระลึกต่าง ๆ
ของที่ระลึกต่าง ๆ
ของที่ระลึกต่าง ๆ
ของที่ระลึกต่าง ๆ
ของที่ระลึกต่าง ๆ
ป้ายชื่อวัดด้านอุโบสถ
อุโบสถซึ่งอยู่ทางด้านหน้าขององค์พระปรางค์ประธาน
พระพุทธรูปภายในอุโบสถ
พระพุทธรูปปางนาคปรกวิหารด้านหน้าอุโบสถ
ภาพในหลวงรัชกาลที่ 5  ขณะยังทรงพระเยาว์  และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต  วัดระฆัง  (ภายในอุโบสถ)
ทำบุญใส่บาตรได้นะครับ
ต้นสาละลังกา...ออกผลสวยดีครับ
ดอกสาละลังกา...สวยและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ 
สะพานเหล็กข้ามแม่น้ำยม  เชื่อมหมู่บ้านทางทิศตะวันตก
สะพานเหล็กข้ามแม่น้ำยม  เชื่อมหมู่บ้านทางทิศตะวันตก




ขอบคุณ  : 
http://th.wikipedia.org



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์